หลักสูตรฝึกอบรม จับมือเขียนหลักสูตร จับไมค์ให้เทคนิคการสอน - หลักสูตร 2 วัน
(Effective Train the Trainer in Practice)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / การพัฒนาวิทยากร (Train the trainer) / หลักสูตรฝึกอบรม จับมือเขียนหลักสูตร จับไมค์ให้เทคนิคการสอน (Effective Train the Trainer in Practice)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

หลักการและเหตุผล
หัวใจสำคัญของการเป็น “วิทยากรภายในองค์กร (Internal Trainer)” คือ ความสามารถในการนำความรู้ ความสามารถ ศักยภาพ และประสบการณ์ที่มีอยู่มาออกแบบหลักสูตรและโปรแกรมการฝึกอบรมในสไตล์ของตัวเองได้ มีความสุขในการถ่ายทอดความรู้ สร้างแนวความคิดดีๆ และดึงศักยภาพของบุคลากรให้เติบโตทดแทนตำแหน่งต่างๆ ในองค์กรได้ทันที่ต้องการ
องค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาวิทยากรภายในองค์กร มีดังนี้ การเตรียมความพร้อมและสร้างกรอบความคิดการเป็นวิทยากรที่ดี การจัดทำหลักสูตรและโปรแกรมการฝึกอบรมที่เป็นสไตล์ของตัวเอง เทคนิคการจัดทำสไลด์ให้สอดคล้องกับเนื้อหาและกระบวนการสอน การเลือกรูปแบบการฝึกอบรมในสไตล์ตัวเองได้อย่างมั่นใจ การสร้างเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆ ของตัวเอง การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ประกอบการฝึกอบรมของตัวเอง
วิทยากรเปรียบเสมือน “กุ๊กปรุงอาหารรสเลิศ” ให้ตรงความต้องการของผู้เรียน
       เนื้อหาหลักสูตรดูดีและโดนใจ
       สไลด์ครบถ้วน ตอบโจทย์ และน่าสนใจ
       เทคนิคการสอนเข้าถึงผู้เรียน
       รูปแบบการฝึกอบรมสอดคล้องกับความต้องการ
การเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติจริง (In Practice) ด้วยตัวเอง ทำให้สามารถประยุกต์ไปใช้ดำเนินการฝึกอบรมด้วยตัวเองได้ทันที โดยการสร้างหลักสูตรที่นำความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ของตัวเองออกมาจัดทำเป็นหลักสูตรผ่านแบบฟอร์ม Workbook ตลอดโปรแกรม ทำให้การเขียนหลักสูตรง่ายและได้หลักสูตรทันทีหลังการฝึกอบรม
การได้ฝึกฝนบนการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) ทำให้ได้เรียนรู้เทคนิคทักษะและจังหวะการสอนของตัวเองได้อย่างชัดเจน เกิดความมั่นใจในการนำไปปรับใช้ให้เกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เมื่อนำไปหมั่นฝึกฝนตามกระบวนการที่ได้เรียนรู้ ก็จะทำให้สามารถเป็นวิทยากรภายในองค์กรได้อย่างมั่นใจ

วัตถุประสงค์
 เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างหลักสูตรและมีกระบวนการสอนของตัวเอง ในฐานะวิทยากรภายในองค์กร (Internal Trainer) ได้ทันที
 เพื่อทำให้ผู้เรียนมีแนวทางในการเขียนหลักสูตรต่างๆ ได้อย่างง่ายดายด้วย Workbook ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการเขียนหลักสูตรอื่นๆ ต่อไปได้
 เพื่อทำให้ผู้เรียนได้เทคนิคการสอนในสไตล์ของตัวเอง ผ่านการฝึกฝนและปฏิบัติจริงบนหลักสูตรของตัวเอง
 เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถออกแบบกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบในการฝึกอบรมของตัวเองได้
 เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการเป็นวิทยากรภายในองค์กร (Internal Trainer) ได้

ขอบเขตการฝึกปฏิบัติการโค้ชจริงด้วยเครื่องมือต่างๆ ในโปรแกรม
Day I : การเขียนหลักสูตรของตัวเองให้โดนใจ
การเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนจัดทำหลักสูตร
       การสร้างกรอบความคิดการเป็นวิทยากร (Growth Mindset)
       การโค้ชศักยภาพและคุณค่าในตัวเอง (Unleash The Power Within)
       การใช้คำถามเตรียมตัวสำหรับเขียนหลักสูตร (Powerful Question)
       กำหนดแนวทางการสอนในสไตล์ตัวเอง
       Workshop : ดำเนินการสำรวจตัวเองอย่างละเอียดตามแบบฟอร์ม
เทคนิคการเขียนหลักสูตรให้โดนใจ สไตล์ตัวเอง
       ครบเครื่องเรื่องศาสตร์&ศิลป์การเป็นวิทยากร
       การเรียนรู้ “คุณลักษณะของหลักสูตร” ประเภทต่างๆ
       หมวดของเนื้อหาที่สามารถมีในหลักสูตร
       แหล่งความรู้สำคัญที่สามารถนำมาสร้างเป็นวัตถุดิบ
       กรณีศึกษา : ตัวอย่างการเขียนหลักสูตรแนว T&GC
เทคนิคการจัดทำสไลด์ให้สอดคล้องกับกระบวนการสอน
       กระบวนการสอนแบบต่างๆ
       สไลด์ (Slide) ประเภทต่างๆ
       แนวทางการเขียนบทพูด (Script) แต่ละสไลด์
       สไลด์เครื่องมือ (กิจกรรม) ที่ใช้ประกอบการฝึกอบรม
       Workshop : การเขียน Script กับสไลด์ของตัวเอง (แบบฟอร์ม)
กำหนดเนื้อหาของรูปแบบการฝึกอบรมในสไตล์ตัวเอง
       การบรรยายความรู้และการฝึกปฏิบัติ (Workshop)
       การให้หลักการ, ความรู้แล้วชวนคิด (Training & Coaching)
       การใช้กิจกรรมเกมสร้างความสนุกและเรียนรู้ (Activity Base Learning)
       การจับกลุ่มวงสนทนาเรียนรู้และเปิดใจกัน
       การโค้ชกลุ่มสร้างแนวความคิดใหม่ๆ
       Workshop : กำหนดเนื้อหาและรูปแบบการฝึกอบรมของตัวเอง

Day II : เทคนิคการสอนและการโค้ชตามกระบวนการ
การเรียนรู้และเข้าใจโลกของการสอนและการโค้ช
       คำสำคัญ (Key Words) ที่เกี่ยวข้อง
       ความเหมือนและความแตกต่างของการสอนแต่ละประเภท
       หลักการที่สำคัญในการพัฒนาตัวเองให้เป็นวิทยากร
       หลักการที่สำคัญในการพัฒนาตัวเองให้เป็นโค้ช
       จุดประสงค์ของการกำหนดข้อตกลงร่วม (Ground Rule)
       Workshop : กำหนดแนวทางการเป็นวิทยากร & โค้ชสไตล์ตัวเอง
การสร้างเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆ
       เทคนิคการบรรยายเนื้อหา ให้น่าสนใจ
       เทคนิคการใช้คำสำคัญ สร้างแนวความคิด
       เทคนิคการใช้อุปกรณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน
       เทคนิคการใช้เรื่องเล่า ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเนื้อหา
       เทคนิคการใช้ Flipchart ให้เห็นหลักการที่สำคัญ
       เทคนิคการใช้คำถาม ประกอบการสอนในจังหวะต่างๆ
       Workshop : ดำเนินการสอนด้วยเทคนิคต่างๆ
การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ประกอบการฝึกอบรม
       การใช้กิจกรรมเชิงปฏิบัติ (Workshop) ให้ผู้เรียนสรุป
       การใช้กรณีศึกษา (Case Study) เป็นสถานการณ์เสมือนจริง
       การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) สร้างการเรียนรู้จริง
       การใช้การ์ดการโค้ช (Coaching Card) สร้างการตระหนักรู้
       การใช้กิจกรรมเกม (Game) สร้างความสนุกสนานและเรียนรู้
       Role Playing : ดำเนินการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
การสร้างหลักสูตร/โปรแกรมการสอนที่เป็นมาตรฐานของตัวเอง
       หัวข้อสำคัญที่ควรมีในหลักสูตรมาตรฐาน
       หลักการเชื่อมโยงสมรรถนะ (Competency) กับเนื้อหาในหลักสูตร
       ประเภทของหลักสูตรที่สามารถสร้างเพิ่มขึ้น
       หัวใจสำคัญของการออกแบบโปรแกรม
การบ้าน : เพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง

กรอบความคิดหลักสูตร (Course Framework)

แนวทางการฝึกอบรม [Training and Group Coaching]
การฝึกอบรมเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ทำให้ผู้เรียนรู้ได้คิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และนำสิ่งที่เรียนรู้ไปลงมือทำด้วยตัวเองทันที
กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
       การบรรยายเนื้อหา
       Work shop สร้างสถานการณ์
       เกมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
       การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
วิทยากรใช้กระบวนการ Coaching เพื่อดึงศักยภาพของผู้เข้าอบรมที่หลบซ่อนอยู่ออกมาด้วยตัวเอง รับผิดชอบต่อเป้าหมายของตัวเอง โดยการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่องานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งกันและกันในClass ทำให้เกิดการเรียนรู้จากชีวิตจริงของผู้อื่น อีกทั้งการทำ Work shop เพื่อให้สามารถนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้ว ทำให้เกิดความสนุกสนานและอยากเรียนรู้มากขึ้น

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
 HRD, ผู้จัดการแผนก, ผู้จัดการที่ต้องการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ ในรูปแบบการเป็นวิทยากร
เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมภายในองค์กร ผู้ที่รับผิดชอบในการทำหน้าที่การฝึกอบรมภายในองค์กร
ผู้เชี่ยวชาญสายงานต่างๆที่ต้องการเป็นวิทยากรภายใน
วิทยากรที่ต้องการพัฒนาตัวเองในรูปแบบใหม่ๆ, ผู้ที่สนใจในการเป็นวิทยากร

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม

วิทยากรที่ ได้การรับรองจากสถาบัน สามารถสอนหลักสูตรหมวดนี้ได้

อ. ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์

Executive Coach Leadership and Strategic Development Consultant

อ. วีรพันธ์ เกษสังข์

Strategic and Management Coaching & Consulting / Professional Trainer

รศ.ดร.ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร

กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อ. ณัฏฐา วงศ์รัตนพิบูลย์

Coach , ที่ปรึกษา และ วิทยากร ประจำสถาบัน เอ็นเทรนนิ่ง กลุ่มธุรกิจการฝึกอบรมและที่ปรึกษา

ดร.วันทนา ปทุมอนันต์

ผู้เชี่ยวชาญด้าน จิตวิทยาการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และองค์กร