หลักสูตรฝึกอบรม ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการจัดการปัญหา - หลักสูตร 1 วัน
(Problem Solving & Decision Making with System Thinking)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / Management and Productivity / หลักสูตรฝึกอบรม ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการจัดการปัญหา (Problem Solving & Decision Making with System Thinking)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

หลักสูตร การพัฒนาทักษะการคิด

  ทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ (Thinking Skill)   

หลักสูตร การพัฒนาทักษะการคิดและการประยุกต์ใช้

  ทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ (Thinking Skill)   

หลักสูตร การพัฒนาทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์

  ทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ (Thinking Skill)   

หลักการและเหตุผล
โลกของการแข่งขันในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบวนการทำงานของทุกระดับในองค์กรมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังต้องแข่งขันกับเวลา ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นสามารถส่งผลได้ทุกระดับเช่น เกิดความล่าช้าในการผลิต การส่งมอบ ไปจนถึงการสูญเสียค่าใช้จ่ายและงบประมาณ เพื่อจัดการปัญหานั้นๆ ซึ่งบุคลากรขององค์กรนั้นๆ ถือเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดวิธีการแก้ปัญหาเพื่อลดผลกระทบให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอีก หรือเพิ่มขีดความสามารถเพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน เหล่านี้ล้วนต้องใช้บุคลากรที่มีทักษะการคิดเป็นอย่างมาก ทักษะการคิดประเภทหนึ่งที่ถือว่ามีสำคัญอย่างมากคือ การคิดเชิงระบบ ซึ่งทักษะการคิดนี้ถือเป็นสิ่งจำเป็นไม่เพียงแต่เฉพาะระดับผู้บริหารหรือผู้จัดการเท่านั้น แต่พนักงานทุกระดับสามารถฝึกฝนและนำไปประยุกต์ใช้กับแต่ระดับของปัญหาที่แต่ละคนต้องเผชิญได้ ซึ่งผลลัพธ์จากการใช้ทักษะการคิดเชิงระบบจะช่วยให้องค์กรมีศักยภาพทางการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น 
พนักงานในระดับปฏิบัติการมักจะมองว่าการแก้ปัญหาหรือการกำหนดกลยุทธ์เพื่อเพิ่มโอกาส มักจะเป็นหน้าที่ของระดับหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาเท่านั้น เพราะคิดว่าตัวเองมีหน้าที่เพียงทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งค่านิยมหรือความคิดเช่นนี้จะทำให้พนักงานเหล่านั้นไม่เกิดการพัฒนาทักษะด้านความคิด ในวิเคราะห์สาเหตุและคิดหาวิธีการในการการแก้ปัญหา ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดสำคัญในการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นและมีความรับผิดชอบมากขึ้น ซึ่งยิ่งมีโอกาสเผชิญปัญหาในขนาดที่ใหญ่มากขึ้นด้วยเช่นกัน 
การพัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบเพื่อการแก้ปัญหา จะทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของปัญหาทั้งหมดตั้งแต่ ระบุอาการของปัญหา และจึงวิเคราะห์หาสาเหตุที่มาของปัญหา จากนั้นจึงมากำหนดเป็นกลยุทธ์หรือวิธีการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งบางครั้งวิธีการที่ใช้อาจมีได้หลายวิธีการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างเดียวกัน แต่อาจใช้ทรัพยากรในจำนวนที่แตกต่างกัน เช่นระยะเวลาที่ใช้ หรืองบประมาณรายจ่ายที่ต้องจ่ายลงไป ทักษะการตัดสินใจจึงเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของการคิดเชิงระบบ

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนได้แนวทาง,หลักการและความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในจัดการกับปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ 
พัฒนาทักษะต่างๆที่สำคัญที่ใช้ในการคิด การวิเคราะห์ และการตัดสินใจ เพื่อจัดการกับปัญหา รวมทั้งสามารถถ่ายทอดทักษะดังกล่าวให้กับทีมงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 
เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นและเข้าใจสภาพปัญหาหรืออุปสรรคที่กำลังเผชิญอยู่ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน และปรับมุมมองใหม่ต่ออุปสรรคดังกล่าวเพื่อให้พร้อมรับมือได้ดียิ่งขึ้น

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 PART 1 : เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างมีระบบ
       สำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับคำว่าปัญหาและการคิดเพื่อจัดการปัญหา 
       วัฏจักรของปัญหาทั่วไป
       นิยามและความเชื่อมโยงของ อาการ ปัญหา สาเหต
       ความเข้าใจเกี่ยวกับการมองภาพองค์รวม(มหัพภาค)และองค์ประกอบย่อย(จุลภาค)ของระบบทั่วไป
       นิยามของการคิดเชิงวิเคราะห์กับการคิดเชิงระบบ 
       ประโยชน์ของการคิดเชิงระบบในการแก้ไขปัญหา
       Workshop : บอกถึงอาการของปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่กำลังเผชิญ 
PART 2 : การพัฒนาแนวความคิดเชิงระบบ
       หลักการในการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างมีระบบ 
       หลุมพรางทางความคิดเชิงลบเกี่ยวกับการคิดเชิงระบบ
       เทคนิคการเอาชนะหลุมพรางทางความคิด
       ทักษะการคิดเพื่อวิเคราะห์อาการและสาเหตุของปัญหา (Root Cause Analysis)
       การพัฒนาการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างแนวทางในการแก้ปัญหา
       Workshop: การประยุกต์ใช้กลยุทธ์กับระบบงาน
PART 3 : เทคนิคและเครื่องมือในการพัฒนาความคิดเชิงระบบ
       คุณสมบัติของนักคิดเชิงระบบ
       เครื่องมือของนักคิดเชิงระบบและเชิงวิเคราะห์ 
       เทคนิคการคิดเชิงระบบด้วย PDCA Model 
       เทคนิคการกำหนดกลยุทธ์และวิธีการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา 
       เทคนิคการตัดสินใจเพื่อให้ได้ทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
       การสร้างดัชนีชี้วัดเพื่อตรวจสอบผลลัพธ์จากกลยุทธีที่เลือกใช้ 
       Workshop: สร้างกระบวนการคิดเชิงระบบด้วยตัวเอง
PART 4 : CASE STUDY
       การนำทักษะและเครื่องมือไปใช้กับสถานการณ์ตัวอย่างหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง 
       ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากพนักงานหรือทีมงานที่มีประสิทธิภาพในการคิดเชิงระบบ
       บทเรียนจากการคิดเชิงระบบเพื่อแก้ปัญหา(จากประสบการณ์วิทยากร) 
       การบ้านและการนำไปประยุกต์ใช้


แนวทางการฝึกอบรม [Training and Group Coaching]
 การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ในทันที ด้วยแนวทางของตัวเอง
การฝึกอบรมมีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ คิดถึงสถานการณ์ การทำงานของตัวเอง 
       การบรรยาย : เน้นเนื้อหาที่ใกล้ตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
       Work Shop : กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
       การนำเสนอ : เกิดการฝึกฝนการแสดงออกและทำงานเป็นทีม
       Role Playing : ทำให้เห็นสถานการณ์จริง โดยการแสดงแบบสมมติ 
       การตอบคำถาม : จูงใจให้ผู้ฝึกอบรมได้คิด และแสดงความคิดเห็น 
       การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง 
วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้นๆ โดยการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยตัวเอง

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
ระดับผู้จัดการ
Line Leader
หัวหน้างานทุกระดับ
พนักงานทั่วไป

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม