หน้าแรก / บริการ / หลักสูตรฝึกอบรม 2562 / Other / เทคนิคการปรับปรุงงาน ด้วยวิถีแบบไคเซ็น
ติดต่อสอบถาม
0-2374-8638 / 0-2732-2345
091-770-3350 / 091-770-3352 (HOTLINE)
mktentraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและเหตุผล ไคเซ็นเป็นแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพในสถานที่ทำงาน ให้เกิดความสะดวก ลดความสูญเปล่า ลดความเมื่อยล้าตามหลักการการยศาสตร์ เพิ่มระดับคุณภาพสินค้า ความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน และเป็นเวทีให้พนักงานนำศักยภาพที่มีอยู่ออกมาใช้ให้เป็นที่ปรากฏได้อย่างเต็มที่และเต็มใจ
หลักคิดของ Kaizen มุ่งส่งเสริมให้พนักงานทำการปรับปรุงงานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบเป็นลำดับแรก เพราะเชื่อว่าพนักงาน ณ จุดปฏิบัติงานมีความเข้าใจตัวงาน เงื่อนไขต่างๆดีที่สุด ดังนั้นพนักงานคือบุคคลที่จะปรับปรุงตัวงานนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถตอบโจทย์ในสถานที่ปฏิบัติงานของเขาเหล่านั้นได้อย่างแท้จริง
ไคเซ็น (Kaizen) ไม่ต้องการความความซับซ้อน การลงทุน หรือการสร้างความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในทันทีแต่ไคเซ็น เป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์ในการให้พนักงานกล้าที่จะคิดและลงมือทำในสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบให้ดีขึ้นจากตัวเขาเอง โดยแรงขับเคลื่อนเล็กๆ ของแต่ละคน เมื่อรวมกันจะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ และเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการทำงาน
การสร้างวิถีการทำงานแบบ Kaizen องค์กรเป็นผู้ให้การสนับสนุน และจูงใจผ่านการจัดสร้างระบบที่เป็นรูปธรรม ถูกต้อง และเป็นมิตร เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงประโยชน์ที่ตนเองได้รับในแง่คุณค่า และตัวตนในสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างความต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เข้าใจหลักการพื้นฐานและแนวคิดของKaizen
มองเห็นศักยภาพของตนเองในการทำ Kaizen
สามารถสำรวจ และมองเห็นความสูญเปล่า (Waste) ในสถานที่ทำงานของตนเอง
เข้าใจเทคนิคของการทำ Kaizen
ประยุกต์ใช้แนวทาง ECRS ในการทำ Kaizen ในงานของตนเอง
เข้าใจรูปแบบขั้นตอนการดำเนินงานของกิจกรรม (Kaizen Activity)
รวบรวมแนวทางการทำกิจกรรม Kaizen ให้เกิดความต่อเนื่องในที่ทำงาน
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร หลักการพื้นฐานของ Kaizen
การสำรวจสถานการณ์ในสถานที่ปฏิบัติงาน ณ ปัจจุบัน
ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการปฏิบัติงาน
ความสัมพันธ์ของการใช้ศักยภาพกับผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ลักษณะของสถานที่ปฏิบัติงานที่ดี
การสร้างความเปลี่ยนแปลงในสถานที่ปฏิบัติงานของตนเองด้วย Kaizen
Kaizen ยากเกินไปสำหรับเราจริงหรือไม่
ความคิดที่เป็นอุปสรรคในการแสดงศักยภาพ
หลักการคิดแห่งการพิชิตเป้าหมาย (Principle of Success)
กรณีศึกษา “ฉันทำได้”
การทำ Kaizen ในงานของตนเอง
หลักการ ECRS
เทคนิค : มอง คิด ทำ เขียน เพื่อตนเอง ด้วยตนเอง
ตัวอย่าง Kaizen ที่เราก็ทำได้
Workshop การทำ Kaizen ในงานของตนเอง
- สำรวจขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- ระบุจุดที่ต้องการปรับปรุง
- ระบุวิธีการทำงาน ณ ปัจจุบัน
- นำเสนอการเปลี่ยนแปลงด้วย Kaizen
- Next Kaizen ไคเซ็นถัดไปที่ฉันทำได้ แนวทางการสร้างรูปแบบการดำเนินงานของกิจกรรมไคเซ็นในองค์กร Kaizen Activity เพื่อความต่อเนื่อง
Workshop การระดมสมอง ทำอย่างไร Kaizen จะต่อเนื่องในองค์กร
การระบุสิ่งที่จะนำกลับไปปฏิบัติ
การตอบข้อซัก-ถาม
รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม รูปแบบการฝึกอบรมมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม (Active Learning Based) มีโอกาสลงมือฝึกปฏิบัติด้วยตัวเอง (Experiential Based Learning) และสนับสนุนในการใช้ศักยภาพภายในผ่านกระบวนการรโค้ช (Coaching)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านเนื้อหา การลงมือปฏิบัติ การอภิปรายผลการปฏิบัติร่วมกัน และมองหาโอกาสในการนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองเมื่อจบหลักสูตร
ในระหว่างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียน มองเห็นสถานการณ์ปัจจุบันของตนเองให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และชักชวนให้ผู้เรียนมองหาโอกาสในการเปลี่ยนแปลงไปจากจุดเดิม
- ผู้สอนสนับสนุนการนำข้อมูลความรู้ใหม่ๆ ทั้งจากวิทยากรและจากเพื่อนในชั้น จากการอภิปรายต่างๆร่วมกัน เพื่อผสมผสานเข้ากับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน เป็นการสร้างทางเลือกในการตอบสนองหรือดำเนินการกับสถานการณ์ที่ตนเองจะต้องเผชิญ หรือก้าวข้ามไปให้ถึงเป้าหมาย
- ผู้สอนสนับสนุนให้ผู้เรียนมีโอกาสลงมือปฏิบัติจริงในห้องเรียน ให้ได้มองเห็นสิ่งที่ตนเองสามารถทำได้ดี รวมถึงประเด็นที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อการต่อยอดหลังจากจบหลักสูตร
- ผู้เรียนตัดสินใจ และสร้างพันธะสัญญากับตัวเองในการสร้างความเปลี่ยนแปลง หรือการนำไปใช้ในงานในสไตล์ของตนเอง
อาจารย์ ชัชวาลย์ สัจจรักษ์
วิทยากรอิสระ
ดาวน์โหลดโปรไฟล์วิทยากร
Keyword ที่เกี่ยวข้อง : Kaizen, ไคเซ็น, การปรับปรุงงาน
แสดงความคิดเห็น