หน้าแรก / บริการ / หลักสูตรฝึกอบรม 2562 / Advance Management OD / เทคนิคการเขียน OKRs และการติดตามผลลัพธ์
ติดต่อสอบถาม
0-2374-8638 / 0-2732-2345
091-770-3350 / 091-770-3352 (HOTLINE)
mktentraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและเหตุผล การสร้างเป้าหมายที่ท้าทายในช่วงเวลาหนึ่งๆ และสามารถปฏิบัติได้จริง โดยมีการดำเนินการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถทำ “เหตุ” ที่ดีในการบรรลุ “จุดประสงค์” เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
OKRs เป็นเครื่องมือการสร้างผลลัพธ์ที่สะดวกและชัดเจนในการปฏิบัติ ทำให้บุคลากรเกิดผลงานได้และสอดคล้องกับเป้าหมายที่สูงมากกว่าขององค์กรอย่างครบถ้วน ทำให้เครื่องมือนี้เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน
หัวใจสำคัญของ OKRs คือ FACTS
Focus : การให้ความสำคัญกับเรื่องหลักๆ เพียงไม่กี่เรื่อง
Alignment : การสอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกันทั้งองค์กร
Commitment : เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้
Tracking : มีการติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่องและชัดเจน
Stretch : เกิดความท้าทายในการบรรลุผลลัพธ์
กุญแจแห่งความสำเร็จของการใช้เครื่องมือ OKRs คือ CFR
Conversation : การสื่อสาร พูดคุยและการโค้ช
Feedback : การให้ข้อมูลป้อนกลับที่สร้างสรรค์ร่วมกัน
Recognition : การสร้างวัฒนธรรมความสำเร็จและกำลังใจ
วัตถุประสงค์ เพื่อทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจเครื่องมือ OKRs อย่างลึกซึ้งและสามารถประยุกต์ใช้กับงานของตัวเองได้ทันที
เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนการเขียน OKRs ของตัวเอง ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง
เพื่อทำให้ผู้เรียนได้เห็นประเด็นสำคัญของการสร้าง OKRs ขึ้นมาในองค์กร ทำให้เตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรที่ต้องเกี่ยวข้อง
เพื่อทำให้ผู้เรียนมีเทคนิคการโค้ชให้การสร้าง OKRs และการติดตามผลลัพธ์ (CFR) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงกับตัวเอง
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม การเรียนรู้และเข้าใจ OKRs (Objective & Key Results)
ประวัติของ OKRs พอสังเขป
ที่มาของ OKRs (Timeline of OKRs)
ความหมายของ OKRs เชิงลึก
ประเด็นสำคัญของการสร้าง OKRs
เทคนิคการเขียน OKRs ให้สอดคล้องกันทั้งองค์กร
Workshop : กำหนดคุณลักษณะของ OKRs ของตัวเอง
การสร้าง OKRs และการประยุกต์ใช้กับการทำงาน
การเปรียบเทียบ OKRs กับ MBOs
ความเหมือนและความต่างของ OKRs และ KPI
หัวใจสำคัญของ OKRs (FACTS)
การบริหาร OKRs ให้เกิดประสิทธิผล
ประเภทของ OKRs ในแต่ละจุดประสงค์
Workshop : กำหนด OKRs ของตัวเอง
การเตรียมบุคลากรให้พร้อมกับการเขียน OKRs ด้วยตัวเอง
การกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย (Goal Setting)
การสร้างกรอบความคิดการเติบโต (Growth Mindset)
การมีวินัยในการทำงาน (Discipline)
การทำงานเชิงรุก (Proactive Working)
การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership for Change)
Workshop : กำหนดคุณสมบัติที่ต้องการพัฒนาเพิ่มเติม
กรณีศึกษา : การเขียนแผน OKRs ของตัวเอง
เทคนิคการโค้ชให้เขียน OKRs และการติดตามผลลัพธ์ (CFR)
เทคนิคการโค้ชให้ตั้งเป้าหมาย (Goal Setting)
เทคนิคการโค้ชให้เขียน OKRs อย่างมีประสิทธิผล
เทคนิคการโค้ชเพื่อติดตามผลลัพธ์ (CFR)
เทคนิคการฟัง & การใช้คำถามที่สอดคล้องกับ OKRs
Role Playing : ดำเนินการโค้ชสร้าง OKRs
การบ้าน : เพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง
กรอบความคิดหลักสูตร (Course Framework)
ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้ พนักงานปฏิบัติการ
หัวหน้างาน
ผู้จัดการ
ผู้บริหาร
ใช้หลักการ การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning)
หมายเหตุ : ผู้ใหญ่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในอดีตของตัวเอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะอยู่ภายในจิตใต้สำนึก ผ่านการแสดงด้วยวงจรพฤติกรรม หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงต้องทำให้ผู้เรียนยินดี ที่จะปรับเปลี่ยนความคิด ของตัวเอง ใหม่ เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง (การกระทำแบบใหม่)
การใช้กระบวนการโค้ชชิ่ง (Coaching) กับการฝึกอบรม
หมายเหตุ : การทำให้ผู้เรียนมองเห็นตัวเองและยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวเอง ผ่านการใช้คำถาม (Questioning) ของโค้ช (วิทยากร) จะสร้างความอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองของผู้เรียน แล้วผู้เรียนก็จะเลือกทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับ Style และสภาพแวดล้อมของตัวเองได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
แก่นสำคัญของการฝึกอบรมในรูปแบบ Group Coaching
หมายเหตุ : การทำให้ผู้เรียนมองเห็นตัวเอง และยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวเองผ่านการใช้คำถาม (Questioning) ของโค้ช (วิทยากร) จะสร้างความอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองของผู้เรียน แล้วผู้เรียนก็จะเลือกทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับ Style และสภาพแวดล้อมของตัวเองได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
" การบอกให้ฟัง กับ กระตุ้นให้คิด อย่างไหนดีกว่ากัน ? "
" ชี้แนะวิธีการให้ กับ ถามว่ามีวิธีการของตัวเองอย่างไร ? "
แบบไหนจำได้มากกว่ากัน
แนวทางการบรรยายสไลด์ (Slide)
อธิบาย กระตุ้นให้คิด ถามให้ประยุกต์ใช้ จูงใจให้มี Commitment
สร้างความเข้าใจในเนื้อหาด้วย Keywords และประโยคสำคัญ
เปิดโอกาสให้สำรวจตัวเองและสร้างแนวทางแก้ไขด้วยตัวเอง
ฝึกให้จับประเด็นสำคัญที่อยู่ในสไลด์ (Slide) ได้ด้วยตัวเอง
ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีอิสระในการเลือกใช้ความรู้ ไม่ได้บังคับ
กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
สร้าง Commitment ในสิ่งที่จะนำไปปฏิบัติ
พิสูจน์หลักการและเทคนิคที่ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
สร้างความเข้าใจในเนื้อหาด้วยตัวเองและพร้อมไปประยุกต์ใช้ทันที
สนุกสนานกับกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
สร้างแนวความคิดใหม่ๆ ของตัวเองผ่านการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
การแสดงบทบาทสมมติ (Workshop) ผ่านกรณีศึกษา
กรณีศึกษา ก็เหมือนกับเหตุการณ์จริงที่ผู้เรียนต้องเผชิญ หากมีการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ประยุกต์กับกรณีศึกษา ก็เสมือนหนึ่งให้พิสูจน์หลักการและวิธีการใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้กับกรณีศึกษา จะทำให้เข้าใจเนื้อหาและวิธีการใช้ได้อย่างแม่นยำ
การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) สร้างความสนุกสนานได้แง่คิดผ่านเหตุการณ์คล้ายสถานการณ์จริง ทำให้เมื่อเจอสถานการณ์จริงหลังการฝึกอบรมแล้ว ผู้เรียนก็จะสามารถประยุกต์ใช้ได้ทันที
การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง
ผู้เรียนควรมีความตั้งใจในการนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ด้วยตัวเอง
การพัฒนาตัวเองควรปฏิบัติบ่อยๆ จนกลายเป็นธรรมชาติของตัวเอง
การเรียนรู้ผ่านกระบวนการ Coaching จะทำให้ผู้เรียนอยากนำสิ่งที่รู้ไปใช้จริง
การบ้านเป็นสิ่งที่ผู้เรียนยินดีที่จะกำหนดด้วยตัวเอง
ผลลัพธ์ของการฝึกอบรมสามารถวัดได้ที่การบ้านที่ผู้เรียนนำไปปฏิบัติจริง
อาจารย์ ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์
Executive Coach Leadership and Strategic Development Consultant
ดาวน์โหลดโปรไฟล์วิทยากร
Keyword ที่เกี่ยวข้อง : OKRs, การติดตามผล, การสร้างเป้าหมาย
แสดงความคิดเห็น