หลักสูตรฝึกอบรม การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ - หลักสูตร 2 วัน
(Business Continuity Management-BCM)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management-BCM)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

ทำไมองค์กรยุคใหม่จึงต้องบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจให้ได้ดี?
“น้ำท่วม 9 จังหวัดภาคกลางเป็นเวลากว่า 3 เดือน โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 5 แห่งต้องหยุดดำเนินการนานกว่า 1 เดือน”
“สหรัฐอเมริกามีนโยบายลด QE เงินทุนไหนออกจากตลาดทุนไทย กดดัชนีตลาดหุ้นลดต่ำสุดในรอบปี และค่าเงินของไทยของไทยผันผวนอย่างหนัก”
“แผ่นดินไหวในทะเลอันดามันจนเกิดสึนามิ เศรษฐกิจและธุรกิจเสียหาย ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก”
“ไฟฟ้าดับทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ของไทยกว่า 15 ชั่วโมง”
“แผ่นดินไหวจนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เสียหาย มีการรั่วไหลของกัมมันตรังสีสู่สิ่งแวดล้อม”
“วันที่ 24 ธ.ค. 56 รถไฟฟ้า BTS ขัดข้อง หยุดดำเนินการตั้งแต่ 8 โมงเช้า เป็นเวลากว่า 3 ชั่วโมง การจราจรโกลาหลทั้งกรุงเทพฯ BTS เสียหาย 5 ล้านบาท”


 ตัวอย่างเหตุการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงสภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน ความผันผวน ความเสี่ยงภัย และภัยคุกคามแบบต่าง ๆ ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบที่รุนแรงและกว้างขวางต่อธุรกิจทำให้ต้องหยุดดำเนินการ (business disruption) รวมทั้งอาจส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมของประเทศได้ นอกจากนี้ เหตุการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งสามารถส่งผลต่อเสียหายทางธุรกิจในอีกหลายประเทศที่อยู่ห่างไกลคนละทวีปได้เนื่องจากการที่เป็นส่วนหนึ่งของ global supply chain
 การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันจึงอยู่ในสภาวะที่ต้องเผชิญกับความผันผวน ความไม่แน่นอน ความเสี่ยงทั้งทางตรงและทางอ้อมที่สำคัญในหลาย ๆ ด้าน บริษัทต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความพร้อมและเตรียมตัวรับมือเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องแม้เกิดเหตุการณ์ความผันผวนหรือวิกฤติ รวมทั้งยังต้องมีระบบในการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงและภัยคุกคามที่มีประสิทธิภาพด้วย อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงบางประการที่ไม่อาจป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เพราะอยู่นอกการควบคุมขององค์กร เช่น เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ภัยธรรมชาติ อุทกภัย อัคคีภัย โรคระบาด วินาศกรรม จราจล นโยบายเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจโลก ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้กิจการต้องหยุดชะงัก สร้างความเสียหายแก่บริษัทได้ เพราะหลายเหตุการณ์ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ และเป็นเหตุสำคัญที่ให้ธุรกิจไม่อาจดำเนินกิจการได้ตามปกติ สิ่งนี้เป็นเหตุผลให้การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) ได้รับความสนใจและมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการทำธุรกิจปัจจุบัน ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ และกิจการ SMEs
 ขณะที่นักบริหารมืออาชีพและผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์ตระหนักและเข้าใจอย่างดีว่าความเสียหายจาก business disruption เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่แสนแพง และได้วางแผนล่วงหน้าเพื่อป้องกันและหยุดยั้งผลกระทบเชิงลบเหล่านั้นได้ แต่ผู้บริหารองค์กรอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องพบกับความสูญเสียอย่างมหาศาล เมื่อต้องรับผลกระทบจากปัญหาที่มิได้เตรียมพร้อมรับมือไว้ล่วงหน้าอย่างดีเพียงพอ ทั้งนี้อาจเนื่องด้วยความไม่รู้ คาดการณ์ไม่ถึง หรือการขาดความเอาใจใส่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบในองค์กร
 BCM และ BCP จึงเป็นเครื่องมือทางการบริหารที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบริหารความเสี่ยง เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท อีกทั้งยังช่วยให้บริษัทสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ แม้อยู่ท่ามกลางสภาวะวิกฤต โดยไม่ทำให้การดำเนินธุรกิจเกิดการหยุดชะงัก รวมถึงจำกัดวงให้มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถป้องกันความเสียหายความสูญเสียที่มีมูลค่าสูงมหาศาลได้ รวมทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าขององค์การสูงขึ้นเนื่องจากความมั่นใจของลูกค้าและผู้ถือหุ้น
 ทั้งนี้ การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจจะเกิดประโยชน์สูงสุดได้ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติทุกคนในองค์กร และทุกหน่วยงานในองค์การมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องนี้ และสามารถนำความรู้ แนวคิด และหลักการไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล และสามารถจัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีความเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

ผู้เรียนจะได้รับอะไรจากหลักสูตรนี้?
 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรที่ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจตามหลักการบริหารที่เป็นมาตรฐานสากล
 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความเสี่ยงจากภัยคุกคามของและผลกระทบเมื่อเกิดการหยุดชะงักต่อองค์กร
 เข้าใจแนวคิดและหลักการของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ได้เรียนรู้เทคนิคและแนวปฏิบัติในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจทั่วทั้งองค์กร
 ฝึกพัฒนากลยุทธ์ กลวิธี และระบบการจัดการเพื่อบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่างเป็นขั้นตอน ได้ฝึกทักษะการระบุ วินิจฉัยและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง ประเมินผลกระทบ การออกแบบกำหนดแผนการตอบสนองความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
 เพื่อระบุกลยุทธ์ในการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ การจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP)

หลักสูตรนี้เรียนอะไรบ้าง?
DAY 1 Introduction to Business Continuity Management (BCM)
 BCM คืออะไร?
 BCM ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
      อบรม สัมมนา BCM สำคัญและความจำเป็นอย่างไรต่อธุรกิจสมัยนี้?
      อบรม สัมมนา ประโยชน์ของ BCM
      อบรม สัมมนา ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ BCM
      อบรม สัมมนา ความหมายของความเสี่ยง โอกาส และการบริหารความเสี่ยง
      อบรม สัมมนา ปัจจัยเหตุแห่งความเสี่ยง
      อบรม สัมมนา ประเภทของความเสี่ยง
      อบรม สัมมนา องค์ประกอบของความเสี่ยง
 วัตถุประสงค์ของ BCM
 BCM Road Map
 การวิเคราะห์บริบทของธุรกิจ โครงสร้างของธุรกิจและองค์กร เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบและปัจจัยความเสี่ยงในทางธุรกิจ
      อบรม สัมมนา โครงสร้างการดำเนินงานขององค์การ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการระบุปัจจัยเสี่ยงเบื้องต้น
      อบรม สัมมนา การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกที่มีผลต่อความเสี่ยง
Workshop
      อบรม สัมมนา อภิปรายกรณีตัวอย่างเหตุการณ์ที่จะทำให้ธุรกิจของท่านหยุดชะงักงัน (disruption)

BCM Process
 ขั้นตอนการจัดทำ BCM
 การระบุ critical/vital business function
 การประเมินความเสี่ยง (risk assessment)
 การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยง เช่น
      อบรม สัมมนา Risk Matrix
      อบรม สัมมนา Cause and Effect Diagram
      อบรม สัมมนา Event Trees
      อบรม สัมมนา Failure Mode and Effect Analysis
 กรณีตัวอย่าง BCM ขององค์กรในประเทศไทย
Workshop
      อบรม สัมมนา critical/vital business function ขององค์กรท่านคืออะไร
      อบรม สัมมนา การประเมินความเสี่ยงขององค์กร

DAY 2 BCM Process (ต่อ)
 การทำ Business Impact Analysis (BIA)
 PPTISS
 Business Recovery
 Business Continuity Planning
 Emergency Response Plan
 Crisis Management Plan
Workshop
      อบรม สัมมนา  การวิเคราะห์ผลกระทบต่อธุรกิจ

Risk Management in Practice
 โครงสร้างการกำกับดูแล BCP และการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ
 บทบาทของผู้บริหารในกระบวนการบริหารความต่อเรื่องทางธุรกิจ
 บทบาทของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
 บทบาทหน้าที่ของทีมจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน
 ทบาทของหน่วยงานบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
 การกำหนด BCM strategy
 การพัฒนาและการนำ BCM response ไปปฏิบัติ
 ปัจจัยความสำเร็จของการทำ BCM มาใช้ในองค์กร
 BCM กับ ISO 22301
 การปลูกฝัง BCM เข้าในวัฒนธรรมองค์กร
Workshop
      อบรม สัมมนา การจัดทำแผนการบริหาความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP)

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร?
 ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงในสายงานต่าง ๆ ขององค์กร
 ผู้รับผิดชอบงานการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
 ผู้จัดการและหัวหน้างาน
 บุคลากรของหน่วยงานควบคุมภายใน

แนวทางในการดำเนินการฝึกอบรม
เน้นให้ผู้เรียนได้คิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ
 การสื่อสาร 2 ทาง เช่น
      อบรม สัมมนา การแนะนำตัวเอง จุดประสงค์ และความคาดหวังจากการอบรม
      อบรม สัมมนา การสรุปทบทวนแนวคิดสำคัญและคำสำคัญต่าง ๆ (Key thoughts and key words)
      อบรม สัมมนา การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม
 กิจกรรมที่เชื่อมโยงเนื้อหาที่สำคัญกับการปฏิบัติและการนำไปใช้
      อบรม สัมมนา กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
      อบรม สัมมนา นำเทคนิค เครื่องมือไปทดลองใช้
      อบรม สัมมนา กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อหา solutions
      อบรม สัมมนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
 การประเมินผลตนเองหลังการอบรม
      อบรม สัมมนา ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม
      อบรม สัมมนา ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ
      อบรม สัมมนา ผ่านแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม
 Assignment เพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติม
      อบรม สัมมนา หัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของผู้เรียน
2. รูปแบบของการฝึกอบรมมีหลากหลายที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม อาทิ การบรรยาย การอภิปราย การระดมสมอง (brainstorming) กลุ่มปฏิบัติการ (workshop) กรณีศึกษา (case study) การนำเสนอผลงาน (presentation) เกมทางการบริหาร (Management games)แสดงบทบาทสมมติ (Role playing) หรือแบบประเมินตนเอง (self-assessment test) เช่น personality test, leadership styles, thinking styles เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
3. วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่มหรือ Group Coaching เพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
4. เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์กรและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของแต่ละองค์กร กิจกรรมต่าง ๆ จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานทางธุรกิจของแต่ละองค์กร (Customized) โดยดำเนินการจัดอบรมภายในองค์กร (In-house Training) ในวันและเวลาที่องค์กรสะดวกและบุคลากรมีความพร้อมในการเข้าอบรม

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม