หลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนาศักยภาพการคิดเชิงวิเคราะห์ - หลักสูตร 1 วัน
(Analytical Thinking)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนาศักยภาพการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
  เหตุใดมาตรการแก้ไขปัญหาที่ทีมงานได้คิดขึ้นและนำไปปฏิบัติใช้จึงไม่ได้ผล ทั้งที่ในระยะแรกๆก็ดูเหมือนจะได้ผลดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งปัญหาเดิมๆก็กลับเกิดขึ้นมาอีก เหตุใดการชดเชยให้กับลูกค้าที่ต่อว่าเกี่ยวกับสินค้าและบริการขององค์กร จึงไม่ได้ทำให้ระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อองค์กรดีขึ้นเลย โปรแกรม CRM ต่างๆที่นำเสนอให้กับลูกค้ากลุ่มต่างๆก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ยอดขายก็ไม่เพิ่มตามที่วางแผนไว้ ซ้ำร้ายยังทำให้ผลประกอบการในภาพรวมแย่ลงอีกด้วย ทำการปรับปรุงกระบวนการผลิตแล้วด้วยเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ต่างๆ ที่นิยมกันและพิสูจน์ทราบความสำเร็จโดยองค์กรอื่นๆมาแล้ว รวมทั้งทำกิจกรรมปรับปรุงมากมายจนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนในการผลิตได้จริง แต่ทำไมบริษัทจึงยังขาดทุนอยู่ กลยุทธ์ก็คิดวิเคราะห์และวางแผนกันมาอย่างดีแต่ก็ไม่ได้ช่วยให้องค์กร ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ฯลฯ และอีกสารพัดที่บ่งบอกถึงความไม่สัมฤทธิ์ผลของแผน มาตรการ และการดำเนินงานต่างๆที่ผ่านมาขององค์กร เรื่องราวเหล่านี้เป็นหัวข้อที่ผมมักได้มีโอกาสรับฟังจากการปรับทุกข์ของลูกค้าอยู่เสมอๆทุกๆองค์กร ก่อนที่เราจะเริ่มโครงการปรึกษาแนะนำกันเพื่อนำพาองค์กรไปสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการ 
หากท่านได้ลองพิจารณาไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหาต่างๆทั้งในธุรกิจการงานและในชีวิตส่วนตัว หรือแม้แต่ปัญหาในระดับมหภาค อาทิ ปัญหาระดับประเทศ ปัญหาระดับโลก ปรากฏการณ์หนึ่งที่จะพบเจออยู่เสมอ คือ มาตรการและแนวทางการแก้ไขต่างๆที่ถูกกำหนดขึ้น ไม่สามารถที่จะขจัดปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผลและยั่งยืน บ่อยครั้งเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งปัญหาที่คาดหวังว่าจะทุเลาลงกลับรุนแรงยิ่งขึ้น และอาจนำไปสู่ปัญหาใหม่ๆให้ต้องตามไปแก้ไขอย่างไม่รู้จบสิ้นประเด็นน่าสงสัย และชวนให้สืบสวนที่ท้าทายความคิดอ่าน ของพวกเราอย่างยิ่งในฐานะที่เราเป็นบุคลากรขององค์กร เป็นสมาชิกของชุมชนและสังคม คือ สาเหตุใดที่นำไปสู่ปรากฏการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาดังกล่าว ทั้งที่พวกเราต่างก็ได้ศึกษาร่ำเรียนกันมาอย่างมากมาย มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการต่างๆอย่างหลากหลาย ได้เรียนรู้ผ่านการอบรมและฝึกฝนเทคนิคเครื่องมือต่างๆสำหรับการแก้ปัญหาและ ตัดสินใจกันมาอย่างยาวนานทั้งในชีวิตวัยเรียนและในวัยทำงาน กล่าวได้ว่าเรียนรู้กันมาตลอดชีวิต มีความรู้ความเข้าใจมีทักษะและใช้เครื่องมือเทคนิคได้อย่างเชี่ยวชาญ แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับสะท้อนความไร้ประสิทธิผลจนน่าท้อใจ ซึ่งหากพวกเราเชื่อว่าผลลัพธ์ที่ดี ย่อมเกิดจากการกระทำที่เหมาะสม และการกระทำที่เหมาะสมย่อมเกิดจากความคิดที่ถูกต้อง นั่นก็แสดงว่ารากเหง้าของความล้มเหลวดังกล่าวข้างต้นเกิดจากระบบ การคิดที่ชี้นำไปสู่แนวคิดและการสร้างวิธีคิดของเรานั้นยังไม่ถูกต้อง จึงได้แนวปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม (แต่เราหลงเชื่อว่าถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิผลยิ่ง) ผลลัพธ์ที่ได้จึงไม่เป็นไปตามคาดและเกิดปรากฎการณ์ที่เราไม่พึงปรารถนาดังกล่าว 
การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เป็นวิธีการคิดรูปแบบหนึ่งที่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยยังมีทักษะที่อ่อนด้อยอยู่ และเป็นที่น่าหวาดหวั่นอย่างยิ่งหากคนไทยยังไม่มีทักษะการคิดประเภทนี้ที่ดีเพียงพอ เนื่องจากการคิดเชิงวิเคราะห์เป็นรากฐานของการคิดอื่นๆ อาทิ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาและตัดสินใจต้องพึ่งพาการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างมาก อาการที่เป็นข้อยืนยันว่าคนไทยมีความอ่อนด้อยในการคิดเชิงวิเคราะห์นั้นมี 2อาการด้วยกัน กล่าวคือ อาการแรกเป็นอาการของการคิดนึกเอาเองจากมโนทัศน์ส่วนตัวที่สร้างขึ้นเอง แล้วนำไปสู่การบิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริงให้สอดคล้องกับมโนทัศน์ของตน ซึ่งบ่อยครั้งขัดแย้งกับความเป็นจริง อาการที่สองคือการด่วนสรุปจากข้อมูลเท่าที่มีหรือสังเกตเห็นได้ โดยการผูกโยงข้อมูลในเชิงเหตุและผลอย่างผิดๆ หรืออาจกล่าวได้ว่ามีการละเลยข้อมูลที่มีนัยสำคัญอื่นๆไป อาการทั้งสองประการนี้ได้นำไปสู่ผลในเชิงลบมากมาย ดังปัญหาวิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมของไทยในปัจจุบัน หากเป็นในระดับเล็กๆ เช่น ในองค์กรหรือในทีมงาน ผลในเชิงลบที่เกิดจากการด้อยทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ก็คือ การที่ปัญหาต่างๆไม่ได้รับการแก้ไขที่สาเหตุที่แท้จริง การตัดสินใจการวางแผนที่ขาดความสอดคล้องกับความเป็นไปได้จริง ซึ่งก็จะนำไปสู่อาการเรื้อรังรุกลามของปัญหา หรือเกิดปัญหาใหม่ๆให้ต้องตามไปแก้ไขไม่รู้จักจบสิ้น 
ในเรื่องการแก้ปัญหารวมทั้งการแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ของมนุษย์นั้น อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดแบบลดรูป (Reductionism) คือการแบ่งแยกสิ่งต่างๆออกเป็นส่วนๆ แล้ววิเคราะห์หาความสัมพันธ์ภายในของแต่ละส่วนแบบแยกจากส่วนอื่นๆ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งมีความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผลเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน (Complexity) ไม่ใช่ดำรงอยู่อย่างโดดๆเฉพาะเท่าที่เราสนใจ ความรู้หลักการและทฤษฎีต่างๆจึงมักเป็นจริงอย่างมีเงื่อนไขประกอบเสมอ (ไม่สามารถอธิบายได้อย่างสมบูรณ์หรือสามารถเกิดข้อโต้แย้งได้เมื่อนำเงื่อนไขบางอย่างออกไป) แต่ในการแก้ปัญหาของมนุษย์ก็ยังจำเป็นต้องพึ่งพาหลักการทฤษฎี ที่มีข้อจำกัดอยู่รวมทั้งการติดยึดในแนวคิดแบบลดรูป การแก้ปัญหาจึงได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างและไม่ยั่งยืน สร้างให้เกิดปัญหาใหม่ๆให้ต้องตามไปแก้ไขแบบไม่สิ้นสุด ดังนั้นการแก้ปัญหาในปัจจุบันจึงต้องมองให้เห็นความซับซ้อน (Complexity) และเห็นภาพใหญ่มากกว่าการมองเป็นจุดๆแยกกันอยู่ เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (ซึ่งเรามองเป็นปัญหานั้น) ล้วนมาจากพฤติกรรมของภาพใหญ่ทั้งนั้น การมองภาพใหญ่ต้องมองให้เป็นระบบที่มีองค์ประกอบต่างๆเชื่อมโยงกันอยู่อย่างเป็นเหตุและผล เมื่อเราสามารถเข้าใจภาพใหญ่ได้แล้วการแก้ปัญหาหรือควบคุม ให้เป็นไปตามสิ่งที่ต้องการก็สามารถทำได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น 
ทักษะการคิดแก้ปัญหาที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ในยุคสมัยปัจจุบัน จึงไม่ใช่ความสามารถในการคิดที่แบ่งปัญหาออกเป็นส่วนๆเป็นเรื่องย่อยๆ และวิเคราะห์ในรายละเอียดแบบแยกจากกันอีกต่อไป แต่ต้องสามารถคิดในเชิงสังเคราะห์ (Synthesis Thinking) ที่เป็นรากฐานที่สำคัญของการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) โดยเป็นการคิดแบบมองเห็นองค์ประกอบและนำองค์ประกอบต่างๆมาบูรณาการกัน ซึ่งจะทำให้เราสามารถเห็นและเข้าใจภาพใหญ่ของปัญหาได้ตามจริง เพื่อจะได้ออกแบบมาตรการแก้ไขได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน ซึ่งการคิดดังกล่าวที่อธิบายมานี้ล้วนอยู่บนพื้นฐานของการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) ทั้งสิ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าการคิดเชิงวิเคราะห์เป็นรากของการคิดในมิติอื่นๆทั้งปวง เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆได้ตามความเป็นจริงและลุ่มลึก รู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของสิ่งต่างๆ รู้ว่าเรื่องนั้นๆมีองค์ประกอบอะไรบ้าง แต่ละองค์ประกอบสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร 
การคิดเชิงวิเคราะห์จึงเป็นทั้งรูปแบบการคิดและเทคนิคในการบูรณาการแนวคิดในการจัดการ (หลักการและทฤษฎีต่างๆ) ให้เป็นองค์รวมกันมากยิ่งกว่าอดีต ธุรกิจและสังคมในอนาคตกำลังจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ซึ่งปัญหาต่างๆจะทวีความซับซ้อนมากขึ้น การคิดเชิงวิเคราะห์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับบุคลากรขององค์กรสำหรับใช้ในการวางแผนงาน การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ และเป็นการเปลี่ยนมุมมองในการพิจารณาเรื่องราวต่างๆทั้งในธุรกิจและสังคมรวมทั้งการมองโลก และการดำเนินชีวิตของเราต่อไปในอนาคตให้เราเป็นผู้ที่มีประสิทธิผลสูง 
 โปรแกรมการอบรมการพัฒนาศักยภาพการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) จึงออกแบบมาอย่างมุ่งเน้นและมุ่งหมายให้ผู้เข้าอบรมสามารถคิดวิเคราะห์ได้ ใช้เหตุผลวินิจฉัยเรื่องต่างๆได้ดียิ่งขึ้น และสามารถประยุกต์การคิดวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล และยั่งยืนมากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต และเป็นก้าวย่างแรกสู่การศึกษาเพิ่มเติมการคิดในมิติอื่นๆต่อไป เพื่อจะได้มองโลกด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ เรียนรู้และปรับเปลี่ยนตัวเองให้ดำรงอยู่กับบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นปกติสุข และสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ต่างๆที่ต้องการอย่างยั่งยืน 

coaching


วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงความสำคัญของการคิดเชิงวิเคราะห์ที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน และการดำเนินชีวิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ เทคนิคและเครื่องมือของการคิดเชิงวิเคราะห์
2. เพื่อแนะนำเทคนิควิธีการคิดเชิงวิเคราะห์และทักษะหลักการของการคิดเชิงวิเคราะห์ให้กับผู้เข้าอบรม
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ หลักการ เทคนิคและเครื่องมือไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน การทำความเข้าใจสิ่งต่างๆอย่างถูกต้องตามจริง การแก้ไขปัญหาในงาน และปัญหาธุรกิจที่มีความซับซ้อนสูง ท่ามกลางบริบทของธุรกิจในปัจจุบันที่มีพลวัตการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยได้แนวทางการแก้ปัญหาและการบริหารจัดการที่ให้ผลสัมฤทธิ์สูงและมีความยั่งยืน
4. เพื่อจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจการพัฒนาศักยภาพการคิดให้เกิดขึ้นกับผู้เข้าอบรม เนื่องจากเป็นทักษะที่มีความจำเป็นยิ่งสำหรับทั้งธุรกิจและสังคม ผู้เข้าอบรมจะสามารถใช้เป็นบันไดขั้นแรกที่จะก้าวไปสู่การศึกษาเรียนรู้ในระดับที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นต่อไป
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงกระบวนการและเทคนิคการนำสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาให้ในการวิเคราะห์ ประมวลผลเพื่อการแก้ปัญหาและตัดสินใจในการปฏิบัติงานประจำวันได้อย่างมีประสิทธิผล บนพื้นฐานของการบริหารจัดการ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง (Management by Fact)
6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกฝนทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์จากตัวอย่างปัญหาจริงทางธุรกิจขององค์กร หรือปัญหาจริงในงานที่รับผิดชอบของผู้เข้าอบรม โดยนำวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดของการแก้ไขปัญหา (Best Practices) ไปกำหนดมาตรการทางเลือกอย่างรอบคอบเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด และลดผลข้างเคียงที่ไม่พึงปรารถนา (Undesired or Negative Side Effect)
7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกัน ที่จะนำไปสู่การทำงาน การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรและธุรกิจร่วมกันอย่างสอดประสานในทิศทางเดียวกัน (Cross Functional and Collaboration)
8. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสพัฒนาและนำศักยภาพของตนที่เพิ่มพูนขึ้นเกี่ยวกับการคิดเชิงวิเคราะห์ และการคิดเชิงโครงสร้างอย่างเป็นเหตุเป็นผล ไปใช้ในการวิเคราะห์แก้ปัญหาและพัฒนางานตามภารกิจในความรับผิดชอบของตนต่อไป

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 ผลลัพธ์และปรากฏการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งมักจะเกิดขึ้นในการคิดวางแผน แก้ปัญหาและตัดสินใจ (Failure and Negative Impacts in Thinking) กิจกรรมการเรียนรู้กระตุ้นศักยภาพการคิด
กับดักและหลุมพรางที่สกัดกั้นศักยภาพการคิดของบุคคล (Pitfalls and Traps in Thinking) กิจกรรมการเรียนรู้ การเอาชนะหลุมพรางและกับดักการคิดของท่าน
แนวทางการพัฒนาสู่การเป็นนักคิดที่มีประสิทธิผลสูงสำหรับคนทำงานและนักบริหารมืออาชีพในศตวรรษที่ 21
เข้าใจกลไกกระบวนการคิดของมนุษย์ เข้าใจสาเหตุที่ทำให้เราคิด ความสัมพันธ์ระหว่างสมองกับศักยภาพการคิดของมนุษย์
การคิดเชิงวิเคราะห์
       ความหมายของการวิเคราะห์และการคิดเชิงวิเคราะห์
       ความสำคัญของการคิดเชิงวิเคราะห์
       องค์ประกอบของการคิดเชิงวิเคราะห์
       แนวทางที่เป็นรูปธรรมของการพัฒนาทักษะความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์
หลักการและเทคนิคที่ช่วยเพิ่มประสิทธิผลและคุณภาพของการคิดและการวิเคราะห์
       Visualized Thinking
       Structured Thinking
       Mutually Exclusive Collectively Exhaustive (MECE) Principle
       Causal Relationship / Causal Loop Diagrammingกิจกรรมการเรียนรู้ กรณีศึกษาการประยุกต์หลักการและเทคนิคฯ
วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) สำหรับการแก้ปัญหาและการตัดสินใจใดๆ
กระบวนการอย่างเป็นระบบ (Systematic) ของการคิดเชิงวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา
แนะนำเทคนิคและเครื่องมือเชิงวิเคราะห์เพื่อการแก้ปัญหา
       Ishikawa Diagram
       Relationship Diagram
       Pareto Chart
       Matrix Diagram
       Tree Diagram
 กิจกรรมการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้เทคนิคการคิดเชิงวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาจริงขององค์กร ทั้งในระดับปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ (นำปัญหาจริงขององค์กรมาใช้ในการเรียนรู้)
การพัฒนานิสัยนักคิดเชิงวิเคราะห์
ถาม-ตอบ สรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
การขยายผลและงานมอบหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดในการอบรมของผู้เข้าอบรมและองค์กร

แนวทางในการพัฒนาตามโปรแกรม
การฝึกอบรมใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้คิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้ได้ทันที
เนื้อหาของหลักสูตรมีทั้งการบรรยาย , การระดมสมอง (Brainstorming) , การปฏิบัติการ (Work Shop) , การแสดงสถานการณ์จำลอง (Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่มหรือ Group Coaching เพื่อให้ผู้เรียนรู้ สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
เน้นรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการควบคู่กับทฤษฎี ตัวอย่าง และการใช้กรณีศึกษาจากกระบวนการดำเนินงานจริง ขององค์การ เพื่ออธิบายประมวลสรุปให้บุคลากรมีความเข้าใจและมีทักษะเบื้องต้นในการนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ขยายผลในงานของตนต่อไป

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
1. ผู้นำและผู้บริหารระดับสูงขององค์กร 
2. ผู้อำนวยการและผู้จัดการในสายงานหลักและสนับสนุนขององค์กร 
3. ผู้จัดการโครงการ (Project Management Leader) และหัวหน้าทีม (Team Leader, Supervisor) 
4. บุคลากรในระดับปฏิบัติการที่ต้องการพัฒนาศักยภาพการคิดวิเคราะห์เพื่อการปฏิบัติงานอย่างสัมฤทธิ์ผล

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม