หลักสูตรฝึกอบรม การลดความสูญเสียด้วย Kaizen - หลักสูตร 1 วัน
(Kaizen for waste reduction)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การลดความสูญเสียด้วย Kaizen (Kaizen for waste reduction)

ดร.ไมตรี บุญขันธ์

(วิทยากรที่ปรึกษาอุตสาหกรรม)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและแนวความคิด
  การปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพงานในความรับผิดชอบของบุคลากรทุกระดับภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง สามารถส่งผลอย่างจริงจังต่อการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนขององค์กรได้ในภาพรวม การพัฒนาความสามารถของบุคลากรทุกระดับให้มีความสามารถในการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งที่องค์การต้องคำนึงถึง ไคเซ็น (Kaizen) เป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับ ไม่เฉพาะแต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น หากแต่ทุกองค์การในประเทศทั่วโลกต่างยอมรับว่า วิธีการทำงานแบบ Kaizen สามารถนำมาใช้เพิ่มผลผลิตให้กับองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ Kaizen มุ่งเน้นที่ การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนในการ ร่วมกันแสวงหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อการคิดปรับปรุงงาน Kaizen ใช้ความรู้ความสามารถหรือศักยภาพที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในตัวบุคลากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการคงอยู่ขององค์กร โดยใช้การลงทุนเพียงเล็กน้อย ก่อให้เกิดการปรับปรุงทีละเล็กทีละน้อยที่ค่อยๆ เพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจแบบใด บุคลากรก็สามารถใช้วิธีการ Kaizen เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นได้ หัวใจสำคัญของ Kaizen อยู่ที่ต้องมีการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องแบบไม่หยุดยั้งและยั่งยืน ดังนั้นด้วยขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถทำได้ง่าย เห็นผลชัดเจนในระยะเวลาอันสั้น และบุคลากรสามารถดำเนินกิจกรรมได้ด้วยตนเองทันที Kaizen จึงเหมาะสมในการที่จะเผยแพร่ให้กับบุคลากรทุกระดับในองค์กร
  โดยหลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็น แนวทาง/เทคนิคการปรับปรุงงานและลดความสูญเสีย ด้วยเครื่องมือต่างๆ โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาการทำไคเซ็นในระดับองค์กรชั้นนำ เพื่อนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไป ดังนั้นหากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแนวคิด “การลดความสูญเสียด้วย KAIZEN” ดังที่กล่าวมาแล้ว องค์กรจะได้รับการพัฒนาโดยพนักงานทุกระดับและเป็นวัฒนธรรมในองค์กรอย่างยั่งยืน


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการปรับปรุงงานแบบ Kaizen
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิค วิธีการค้นพบปัญหาและการคิดค้นวิธีการปรับปรุงทำงาน
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำเทคนิค Kaizen มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน / ปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่องได้
4. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำกิจกรรมปรับปรุงวิธีการทำงานระหว่างหน่วยงาน


รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร (Course Outline)
อบรม สัมมนา 1. หลักการค้นพบปัญหาและขั้นตอนการปรับปรุงงานโดยหลักการ Kaizen
อบรม สัมมนา 2. ความท้าทายที่จำเป็นต้องมุ่งเน้นที่ ความสูญเสีย
อบรม สัมมนา 3. ความหมายของหลักการลดต้นทุนด้วย 7+1 Wastes
อบรม สัมมนา 4. เทคนิคการปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่องด้วย ไคเซ็น (Kaizen)
อบรม สัมมนา 5. การวิเคราะห์ผังการทำงาน (Working flow diagram) เพื่อลดความสูญเสีย
อบรม สัมมนา 6. วิธีการปรับปรุงงานและลดความสูญเสียตามหลัก เลิก/ลด/เปลี่ยน (ECRS)
อบรม สัมมนา 7. เทคนิคการแก้ไขปัญหา ด้วย PDCA แบบ ไคเซ็น
อบรม สัมมนา 8. กรณีศึกษา และแบ่งกลุ่มทำ Workshop ล้านไอเดีย KAIZEN เพื่อลดความสูญเสีย วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและแนวทางในการลดความสูญเสียจากตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มเป้าหมาย
หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการฝึกอบรม
1. การบรรยาย 40 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10%

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานไคเซ็นอย่างถูกต้องชัดเจน
2. ผู้เข้าอบรมมีแนวคิดในการพัฒนาปรับปรุงงานเพื่อยกระดับคุณภาพประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
3. ผู้เข้าอบรมสามารถนำไคเซ็นไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้
4. ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงอื่นๆ ร่วมกับไคเซน เช่น PCDA, 5S, QC7Tools ฯลฯได้อย่างเหมาะสม
5. ผู้เข้าอบรมสามารถถ่ายทอดความรู้และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงงานได้อย่างถูกต้อง

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม