หลักสูตรฝึกอบรม การวางระบบบริหารผลงานให้สัมฤทธิ์ - หลักสูตร 1 วัน
(Performance Management System)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การวางระบบบริหารผลงานให้สัมฤทธิ์ (Performance Management System)

อ. ไพรัช วนัสบดีไพศาล

(วิทยากรที่ปรึกษา ด้านการบริหารองค์กร การขาย การตลาด การลงทุน โลจิสติกส์)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
กำลังขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดขององค์กรคือบุคลากรทุกคน บุคลากรถือเป็นฟันเฟืองที่จะต้องเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม นั่นคือการมีบุคลากรที่ทรงประสิทธิภาพในด้านผลการปฏิบัติงานที่สูงและศักยภาพในการปฏิบัติงาน เป้าหมายขององค์กรจะสำเร็จได้หรือไม่ ขึ้นกับทิศทางขององค์กรและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในด้านของความคิด ทัศนคติ มุมมอง ศักยภาพในการปฏิบัติงาน กลยุทธ์ฯลฯ นี่คือสิ่งที่จะนำพาให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ แต่การที่จะให้ฟันเฟืองหรือบุคลากรเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพนั้น องค์กรจะต้องมีการจัดวางระบบบริหารผลงานให้เกิดเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ เพื่อให้องค์กรเห็นถึงจุดที่ควรจะต้องปรับปรุงพัฒนาและจุดที่ควรต่อยอดการเติบโตที่สำคัญและเร่งด่วน 
การจัดวางระบบบริหารผลงาน Performance Management System จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยวางแผนงานในภาพรวมให้กับองค์กร และสามารถวางแผนงานลงไปในภาพย่อย ของแต่ละหน่วยงาน และแต่ละบุคคากร การกําหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กร อย่างชัดเจนด้วยการเชื่อมโยงการบริหารผลงานด้วย Balance Score Card และ Key Performance Indicator เพื่อวัดผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับ การจัดวางระบบบริหารผลงานจะมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในรอบ 12 เดือน โดยจะมีผลการปฏิบัติงาน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย วางแผนผลการปฏิบัติงาน, ออกแบบผลการปฏิบัติงาน, จัดการผลการปฏิบัติงาน, ประเมินผลการปฏิบัติงาน, ผลตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน 
ดังนั้น บุคลากรจึงเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อองค์กร การบริหารบุคลากรให้มีผลการปฏิบัติงานที่สูงขึ้นและมีศักยภาพในการปฏิบัติงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่องค์กรไม่ควรมองข้าม 
ผู้เข้ารับการอบรม จะได้เรียนรู้วิธีคิดการวางระบบบริหารผลงานในภาพรวมขององค์กร ทั้งยังสามารถจัดวางผังการพัฒนาบุคลากรที่เป็นกำลังขับเคลื่อนอันสำคัญในแต่ละเป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดไว้

“วางระบบบริหารผลงานให้สัมฤทธิ์ จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ด้วย PMS”

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการวางระบบบริหารผลงาน 
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบแนวทางการประเมินผลงานขององค์กร หน่วยงาน บุคลากร 
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจต่อเป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดไว้ 
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมองไปที่เป้าหมายในอนาคตที่ต้องการจะบรรลุ 
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีการปรับปรุงพัฒนาผลการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น 
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับการวางระบบบริหารผลงาน

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 เรียนรู้เครื่องมือการวางระบบบริหารผลงาน PMS คืออะไร และ ใช้เพื่ออะไร 
กิจกรรมสำคัญ 3 ประการที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดไว้ 
          การวางแผนผลการดำเนินงาน
          การบริหารผลการดำเนินงาน 
          การประเมินผลการปฏิบัติงาน

 บทบาทสำคัญและบุคลากรที่มีส่วนร่วมใน PMS 
ความแตกต่างระหว่างการบริหารผลงานและการประเมินผลงาน 
ข้อดี/ข้อเสียของเครื่องมือการวางระบบบริหารผลงาน PMS 
แนวคิดการปรับมุมมองของบุคลากรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 
หลักการของการวางระบบบริหารผลงาน PMS 
กระบวนการวางระบบบริหารผลงาน PMS 
การกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
          ระดับองค์กร
          ระดับหน่วยงาน 
          ระดับบุคลากร

 การเชื่อมโยงการวางระบบบริหารผลงาน PMS 
          BSC กำหนดเป้าหมายให้สมดุลรอบด้าน 
          KPI ตัวชี้วัดผลสำเร็จของงาน

 เทคนิคการปรับใช้ KPI ในรูปการณ์ต่างๆ 
การตั้งเป้าหมายและเกณฑ์ประเมินผลงาน 
ข้อตระหนักในการวางระบบบริหารผลงาน 
การบริหารผลตอบแทนขององค์กร Poor Performance Management 
การเพิ่มคุณค่าให้กับงานทุกระดับด้วย Work Improvement 
การบริหารผลการปฏิบัติงานบุคลากร 
          แนวดิ่ง 
          แนวราบ

 การเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับเป้าหมายขององค์กรและหน่วยงาน
          Self Mastering Change 
          Mastering Change

 หลุมพรางและปัจจัยความสำเร็จ 
กรณีศึกษาจากประสบการณ์ตรงของวิทยากร 
Workshop แบ่งกลุ่มฝึกปฎิบัติ
          ให้โจทย์การจัดทำเป้าหมายขององค์กร เป้าหมายแต่ละหน่วยงาน การประมินผลงาน การจัดลำดับความสำคัญ และการจัดทำเกณฑ์การประเมินผลงานที่เป็นรูปธรรม
          วิเคราะห์อย่างละเอียดถึงผลลัพธ์ในการจัดทำ 
          ผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร ร่วมกันวิเคราะห์ความสำเร็จของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอ
          วิทยากรให้ผลลัพธ์ที่ได้ของเวิร์กช็อบนี้

สรุปเนื้อหาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์จากผู้เข้ารับการอบรม 
ข้อคิดฝากให้กับผู้เข้ารับการอบรม เพื่อนำกลับไปฝึกปฎิบัติให้เกิดการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น

วิธีการ (ทฤษฎี 30% ปฏิบัติ 70%)
การบรรยาย – สาธิต – ประสบการณ์ 
เน้นให้มีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์ เพื่อดึงศักยภาพของผู้เข้ารับการอบรมออกมา 
ระดมสมอง – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ – เกมส์สอดแทรก – การแสดงบทบาทสมมติ

สไตล์การสอนของวิทยากร
Psychology for motivated thinking (การใช้จิตวิทยาเพื่อกระตุ้นความคิด)
Training interactive for leverage the real performance (การฝึกอบรมเชิงโต้ตอบสำหรับการใช้ประโยชน์จากการปฏิบัติจริง) 
Psychology (จิตวิทยา) และ Interactive (เชิงโต้ตอบ) คือการนำจิตวิทยามาใช้ร่วมในการฝึกอบรม และกระตุ้นความคิดของผู้เรียนอยู่ตลอดในเชิงโต้ตอบแบบอินเตอร์แอคทีฟ

กลุ่มเป้าหมายของการอบรม
ผู้บริหาร 
ผู้จัดการ 
หัวหน้างาน

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม