หลักสูตรฝึกอบรม การวางแผนการสืบทอดตำแหน่งและการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของธุรกิจ - หลักสูตร 1 วัน
(Practical Succession Planning and Career Path Development)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การวางแผนการสืบทอดตำแหน่งและการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของธุรกิจ (Practical Succession Planning and Career Path Development)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
 จากหนังสือ “Build to Last” หรือในชื่อภาษาไทยว่า “องค์การอมตะ” ที่ประพันธ์โดย Jim Collins กูรูด้านการบริหารจัดการชั้นนำคนหนึ่งของโลก ได้นำเสนอถึงผลสรุปของการสำรวจวิจัยองค์การต่างๆทั่วโลกที่ถือกำเนิดมาเป็นเวลานาน แล ะยังคงดำรงกิจการอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ผ่านยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองและถดถอยแต่ก็ยังคงสามารถปรับตัวและแปลงสภาพองค์การให้มีความสามารถในการแข่งขันและยั่งยืน หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่องค์การเหล่านี้มีร่วมกันคือ ทุนมนุษย์ (Human Capital) ขององค์การ ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้นำระดับสูงขององค์การเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงบุคลากรในทุกระดับขององค์การด้วย แต่สิ่งที่ปรากฏชัด และ มีข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อการกล่าวถึงอ้างอิงในการศึกษามักจะเป็นบุคลากรในระดับสูง ขององค์การ จนมีคำกล่าวที่ว่าการทำนายอนาคตขององค์การว่าจะเป็นอย่างไรนั้นให้ดูที่ผู้นำขององค์การในขณะนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กา รอยู่ในกำมือของผู้บริหารองค์การ ซึ่งจริงๆ แล้วควรจะต้องกล่าวว่าอยู่ในมือของบุคลากรในทุกระดับขององค์การด้วย ตัวอย่างที่ปรากฏชัดและมักจะถูกนำมาเป็นกรณีศึกษาด้านการพัฒนาภาวะผู้นำอยู่เนืองๆก็เช่น ความสำเร็จของบริษัท Apple Inc. และบริษัท Pixar Inc. ภายใต้การนำของ Steve Jobs และการตกต่ำของบริษัท Apple Inc. ในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ไร้เงาของเขาในฐานะผู้บริหารขององค์การ หรือความรุ่งเรืองถึงขีดสุดของ General Electric Inc. (GE) ในยุคสมัยที่บริษัทอยู่ภายใต้การนำโดย Jack Welch ที่ได้เปลี่ยนโฉมและยกสมรรถนะขององค์การอย่างมากมายด้วยการนำแนวคิดและเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้ในองค์การอย่างประสบผลสำเร็จ 
 การบริหารจัดการองค์การให้ประสบความสำเร็จนั้น ศาสตร์สมัยใหม่ของการบริหารระบุว่าองค์ประกอบที่สำคัญมีด้วยกัน 7 ประการซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงยิ่งต่อการคิด สรรค์สร้าง และส่งมอบคุณค่าขององค์การ ประกอบด้วย 
   1. กลยุทธ์ขององค์การ (Strategy) การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริหารตอบคำถามที่สำคัญ อาทิ องค์การอยู่ที่ไหนในขณะนี้ องค์การมีเป้าหมายอยู่ที่ไหน พันธกิจขององค์การคืออะไร พันธกิจขององค์การควรจะเป็นอะไร และใครเป็นผู้รับบริการของเรา การบริหารเชิงกลยุทธ์จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การบริหารเชิงกลยุทธ์จะช่วยให้องค์การ กำหนดและพัฒนาข้อได้เปรียบทางการแข่งขันขึ้นมาได้และเป็นแนวทางที่บุคคลภายในองค์การรู้ว่าจะใช้ความพยายามไปในทิศทางใดจึงจะประสบความสำเร็จ 2. โครงสร้างองค์การ (Structure) คือ โครงสร้างที่ได้ตั้งขึ้นตามกระบวนการ หรือหน้าที่ของงานโดยมีการรับบุคลากรให้เข้ามาทำงานร่วมกันในฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือหมายถึง การจัดระบบระเบียบให้กับบุคคลตั้งแต่ 
   2 คน ขึ้นไป เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากองค์การในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ การจัดองค์การที่ดีจะมีส่วนช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ลดความซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งในหน้าที่ ช่วยให้บุคลากรได้ทราบขอบเขตงานความรับผิดชอบ มีความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว 
   3. ระบบการปฏิบัติงาน (System) ในการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามที่กำหนดไว้ นอกจากการจัดโครงสร้างที่เหมาะสมและมีกลยุทธ์ที่ดีแล้ว การจัดระบบการทำงาน ก็มีความสำคัญยิ่ง อาทิ ระบบบัญชี การเงิน ระบบพัสดุ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการติดตาม ประเมินผล 
   4. บุคลากร (Staff) ทรัพยากรมนุษย์นับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์การ องค์การจะประสบความสำเร็จหรือไม่ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับการจัดทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป็นกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต โดยการตัดสินใจเกี่ยวกับบุคคลนั้นควรมีการวิเคราะห์ที่อยู่บนพื้นฐานของกลยุทธ์องค์การที่เป็นสิ่งกำหนดทิศทางที่องค์การจะดำเนินไปให้ถึง ซึ่งจะเป็นผลให้กระบวนการกำหนดคุณลักษณะ การคัดเลือก และจัดวางบุคลากรได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น 
   5. ทักษะ (Skill) ความรู้ ความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติงานของทรัพยากรบุคคลในองค์การสามารถแยกทักษะออกเป็น 2 ด้านหลัก คือ ทักษะด้านงานอาชีพ เป็นทักษะที่จะทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ได้ตามหน้าที่และลักษณะงานที่รับผิดชอบ เช่น ด้านการเงิน ด้านบุคคล ซึ่งคงต้องอยู่บนพื้นฐานการ ศึกษา หรือได้รับการอบรมเพิ่มเติม ส่วนทักษะ ความถนัด หรือความชาญฉลาดพิเศษนั้น อาจเป็นความสามารถที่ทำให้พนักงานนั้น ๆ โดดเด่นกว่าคนอื่นส่งผลให้มีผลงานที่ดีกว่าและเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้รวดเร็ว ซึ่งองค์การคงต้องมุ่งเน้นในทั้ง 2 ความสามารถไปควบคู่กัน 
   6. รูปแบบการบริหารจัดการ (Style) แบบแผนพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของสภาพแวดล้อมภายในองค์การ พบว่า ความเป็นผู้นำขององค์การจะมีบทบาทที่สำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์การ ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องวางโครงสร้างวัฒนธรรมองค์การด้วยการเชื่อมโยงระหว่างความเป็นเลิศและพฤติกรรมทางจรรยาบรรณให้เกิดขึ้น 
   7. ค่านิยมร่วม (Shared values) ค่านิยมและบรรทัดฐานที่ยึดถือร่วมกันโดยสมาชิกขององค์การที่ได้กลายเป็นรากฐานของระบบการบริหาร และวิธีการปฏิบัติของบุคลากรและผู้บริหารภายในองค์การ หรืออาจเรียกว่าวัฒนธรรมองค์การ รากฐานของวัฒนธรรมองค์การก็คือ ความเชื่อ ค่านิยมที่สร้างรากฐานทางปรัชญาเพื่อทิศทางขององค์การ โดยทั่วไปแล้วความเชื่อจะสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพและเป้าหมายของผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารระดับสูง ต่อมาความเชื่อเหล่านั้นจะกำหนดบรรทัดฐาน เป็นพฤติกรรมประจำวันขึ้นมาภายในองค์การ เมื่อค่านิยมและความเชื่อได้ถูกยอมรับทั่วทั้งองค์การและบุคลากรกระทำตามค่านิยมเหล่านั้นแล้ว องค์การก็จะมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งซึ่งหากพิจารณาโดยสรุปขององค์ประกอบทั้ง 7 แล้วอาจกล่าวได้ว่าความสำเร็จขององค์การถูกกำหนดด้วย ยุทธศาสตร์หรือนโยบาย (Policy) กระบวนการ (Process) และบุคลากร (People) 
 ในมุมมองเชิงระบบนั้นพิจารณาว่าบุคลากรเป็น Systemic หนึ่งที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับทั้งกระบวนการ และ นโยบาย โดยเป็นส่วนริเริ่มให้องค์การได้มาซึ่งกระบวนการ และ นโยบายที่เปี่ยมประสิทธิผลช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันได้หรือในทางกลับกัน ซึ่งผลลัพธ์ของการดำเนินงานขององค์การที่ปรากฏขึ้น ก็จะสะท้อนผลกลับมายังส่วนของบุคลากรที่เป็นได้ทั้งผลเชิงบวกที่ช่วยให้มีพลังดึงดูดคนเก่งคนดีมีความรู้ความสามารถ ให้ต้องการร่วมงานกับองค์การหรือผลในเชิงลบก็จะทำให้องค์การมีต้นทุนสูงขึ้นในการรักษาและสรรหาบุคลากร 
 การสืบทอดตำแหน่ง และ การพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพจึงเป็นประเด็นเชิงยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญยิ่งซึ่งผู้บริหารระดับสูงและนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การจะต้องมุ่งเน้นให้เกิดการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การในด้านต่างๆ มีความต่อเนื่อง หลักสูตรนี้ได้รับออกแบบมาเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจถึงแนวคิด และ หลักการสำคัญของการบริหารการสืบทอดตำแหน่ง องค์ประกอบของระบบและปัจจัยความสำเร็จที่องค์การจะต้องจัดเตรียมให้มีคุณลักษณะที่เอื้ออำนวย แนวทาง และ ขั้นตอนในการดำเนินงานที่เป็นวิธีการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ซึ่งองค์การชั้นนำนิยมนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และได้เข้าใจกรอบหลักการ พื้นฐาน (Fundamental Framework) จนสามารถนำไปประยุกต์จัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่งสำหรับองค์การของตนได้อย่างมีประสิทธิผล

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพและการสืบทอดตำแหน่ง ว่ามีความเชื่อมโยงและสำคัญอย่างไรในเชิงระบบที่มีต่อพัฒนาการและการเติบโตขององค์การ
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจในกรอบหลักการและทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำความรู้ หลักการ เทคนิคและเครื่องมือไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบจัดทำระบบงานการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพและการสืบทอดตำแหน่งได้อย่างมีประสิทธิผล
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงกระบวนการออกแบบจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอน (Systematic) ตั้งแต่ระดับการคิดในระดับยุทธศาสตร์จนถึงการปฏิบัติการออกแบบ จัดทำแผน ดำเนินงานและประเมินติดตามผล
4. เพื่อแนะนำแนวทางในการนำแผนการสืบทอดตำแหน่ง องค์ประกอบต่างๆ ที่ได้ตระเตรียมขึ้นว่าจะสามารถการนำไปขยายผลต่อยอดเพื่อการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ในด้านต่างๆต่อไปอย่างไร เช่น ระบบการสรรหาว่าจ้างบุคลากร การบริหารค่าจ้างและผลตอบแทน การพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร เป็นต้น
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านกรณีศึกษาและการฝึกปฏิบัติรวมทั้งการนำสถานการณ์ปัญหาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในองค์การของตนมาร่วมถ่ายทอดและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 การบริหารทรัพยากรมนุษย์และคุณสมบัติของทรัพยากรบุคคลที่องค์การต้องการในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) และเศรษฐกิจฐานความคิด (Creative Economy)
      ผลกระทบ โอกาสและข้อจำกัดของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจการค้าสมัยใหม่
      แนวโน้มและทิศทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์หลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เตรียมความพร้อมขององค์การอย่างไรให้มีประสิทธิผล
       คุณสมบัติของบุคลากรที่องค์การในยุคเศรษฐกิจฐานความคิดต้องการเป็นอย่างไร
       ความรู้ ทักษะและความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นของบุคลากรในระดับต่างๆขององค์การ

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในฐานะหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic HR) ต้องคิดและดำเนินการอย่างไร?
อุปสรรคและปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอในการสรรหาและการสืบทอดตำแหน่ง

       กิจกรรมการเรียนรู้ การเอาชนะปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสรรหาและการสืบทอดตำแหน่ง
การประยุกต์การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ในการวิเคราะห์ปัญหาการสืบทอดตำแหน่ง และการออกแบบแผนการและกลไกการดำเนินงานการสืบทอดตำแหน่ง
การพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ ลักษณะทั่วไปและการเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์การ การขยายผลเพื่อการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การประเมินผลการดำเนินงาน 
การจัดทำเล้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ การจัดทำแผนการสรรหา ทดแทนและสืบทอดตำแหน่ง
การจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่ง

       รูปแบบทั่วไปของแผนการสืบทอดตำแหน่ง
       ขั้นตอนการจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่ง

การเตรียมความพร้อมขององค์ประกอบเชิงระบบของแผนงานการสืบทอดตำแหน่ง
       การระบุ สรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพ (High Performer) ด้วยการประยุกต์กรอบหลักการสมรรถนะความสามารถ (Competency)
       รูปแบบและองค์ประกอบของสมรรถนะในงาน
       การออกแบบจัดทำ Competency Model สำหรับแต่ละตำแหน่งงาน
       การประเมิน Competency ของบุคลากร
       การพัฒนาและเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อการสืบทอดตำแหน่งด้วยแผนการฝึกอบรมพัฒนาเฉพาะบุคคล
       แนวคิดและหลักการบริหารบุคลากรดาวเด่น (Talent Management)

       กิจกรรมการเรียนรู้ กรณีศึกษาการออกแบบกำหนด Competency Model และการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อการสืบทอดตำแหน่ง
ถาม-ตอบ สรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
การขยายผลและงานมอบหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดในการอบรมของผู้เข้าอบรมและองค์การ

แนวทางการฝึกอบรม
 การฝึกอบรมใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้คิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้ได้ทันที
เนื้อหาของหลักสูตรมีทั้งการบรรยาย , การระดมสมอง (Brainstorming) , การปฏิบัติการ (Work Shop) , การแสดงสถานการณ์จำลอง (Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่มหรือ Group Coaching เพื่อให้ผู้เรียนรู้ สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
เน้นรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการควบคู่กับทฤษฎี ตัวอย่าง และการใช้กรณีศึกษาจากกระบวนการดำเนินงานจริงขององค์การ เพื่ออธิบายประมวลสรุปให้บุคลากรมีความเข้าใจและมีทักษะเบื้องต้นในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ขยายผลในงานของตนต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้นำและผู้บริหารระดับสูงขององค์การ 
2. ผู้อำนวยการและผู้จัดการในสายงานหลักและสนับสนุนขององค์การ 
3. ผู้จัดการโครงการ (Project Management Leader) และหัวหน้าทีม (Team Leader, Supervisor)

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม