หลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT - หลักสูตร 1 วัน
(KYT Conceptual Training)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT (KYT Conceptual Training)

ดร.ไมตรี บุญขันธ์

(วิทยากรที่ปรึกษาอุตสาหกรรม)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
   สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานในทุกองค์กร คือความปลอดภัยโดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการทำงานกับเครื่องจักร ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการทำงานเป็นอย่างมาก หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงานวัตถุดิบและเครื่องจักร ในการผลิตอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และ ความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเองนอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมในการทำงานเช่น การวางผังโรงงานอากาศแสงสว่างหรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่อง และผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ดังนั้นความปลอดภัย ในการทำงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเมื่อมีความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้นโอกาสที่จะประสบอันตราย ในขณะทำงานในองค์กรโดยรวมย่อมลดน้อยลง 
   ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานคือสภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่างๆอันจะเกิดแก่ร่างกาย ชีวิตหรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่งก็คือสภาพการทำงานที่ถูกต้องโดยปราศจาก "อุบัติเหตุ" ในการทำงานนั่นเอง หลักสูตรนี้จึงได้ถูกออกแบบให้สร้างจิตสำนึกให้กับผู้เข้าอบรม เพื่อให้อุบัติเหตุในการปฏิบัติงานเป็นศูนย์ และลดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย เพื่อลดผลกระทบต่อการทำงาน ที่จะทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ 
   การวิเคราะห์ความปลอดภัยแบบ KYT เป็นเครื่องมือหรือเทคนิคในการวิเคราะห์ที่คิดค้นมาจากประเทศญี่ปุ่น และจัดได้ว่าเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ ความปลอดภัยสำหรับสถานประกอบการในประเทศไทย โดยเนื้อหาของการอบรมจะครอบคลุม สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในการทำงานปัจจุบัน หลักการเบื้องต้นด้านความปลอดภัยในการทำงาน การส่งเสริมจิตสำนึกด้านความปลอดภัย เทคนิคและวิธีการ วิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT และมุ่งเน้นกิจกรรมฝึกปฏิบัติ KYT เพื่อความเข้าใจและการปฏิบัติที่ถูกต้อง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม
เพื่อสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจถึงความสำคัญของความปลอดภัย
เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดอุบัติเหตุ อย่างเป็นระบบ
เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ของความไม่ปลอดภัยอย่างเป็นมีรูปแบบ
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการทำงานให้ปลอดภัยมากขึ้น
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานให้เกิดความปลอดภัย
เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม
สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในสถานประกอบการของไทยในปัจจุบัน 
ความหมายของความปลอดภัย 
การส่งเสริมจิตสำนึกด้านความปลอดภัย 
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในการปฏิบัติงาน 
แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ 
หลักในการดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุ 
เทคนิคและวิธีการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT 4 ขั้นตอน 
เทคนิคและวิธีการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT จุดเดียว และปากเปล่า 
ประโยชน์ของการป้องกันอุบัติเหตุ 
การสร้างสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัยในการทํางาน 
ผลเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุ 
Workshop1 : การฝึกเขียนลำดับขั้นการทำงานและการวิเคราะห์จากงานตัวอย่าง เพื่อปรับปรุงการทำงาน 
Workshop2 : ระดมสมอง Safety Brainstorming เพื่อสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติเหตุ 
Workshop3 : ทำกิจกรรม KYT เพื่อให้เกิดความตระหนักต่ออุบัติเหตุในการทำงาน 
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถามตอบ

กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน
 พนักงาน
 ผู้ที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการสัมมนา
1. การบรรยาย 40 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 40% 
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 20 %

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการวิเคราะห์ปัญหาอย่างถูกต้อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของจิตสำนึก การเพิ่มผลิตภาพไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
4. ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม