หลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT - หลักสูตร 1 วัน
(Kiken Yoshi Training)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT (Kiken Yoshi Training)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
KYT เป็นแนวความคิดของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยที่ได้รับความนิยม โดยหลักการสำคัญคือ การปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง มีการคิดพิจารณาก่อนที่จะทำงานใดๆ ว่างานนั้นๆอาจจะมีอันตรายอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง และจะป้องกันได้อย่างไร จากนั้นเลือกสิ่งที่เป็นอันตรายมากที่สุดมาทำการพิจารณาแก้ไข และการให้คำมั่นสัญญาหรือปฏิญาณตนของผู้ปฏิบัติงาน เป็นการเตือนตนเองก่อนลงมือทำงานว่าทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมสำหรับการทำงานและปลอดภัยต่อพนักงานเองรวมถึงเพื่อร่วมงาน จึงจะเริ่มลงมือทำงานได้ โดยการชี้นิ้วไปที่การทำงานนั้นๆ หรือเรียกว่า “นิ้วชี้ ปากย้ำ”

ดังนั้นการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT เป็นวิธีที่ผู้เข้ารับการอบรมสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุอันตรายจากการทำงานและการหามาตรการป้องกัน การสร้างจิตสำนึกในการค้นหาอันตรายละการลดอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานร่วมกันคิดค้น จะเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและเป็นวิธีการป้องกันแบบยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์
1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถค้นหาอันตรายจากการทำงาน วิเคราะห์หาสาเหตุและหามาตรการป้องกันอันตรายก่อนการทำงาน
2. สามารถนำหลักการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT ไปใช้งานได้จริง
3. เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
4. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถค้นหาอันตรายต่างๆ ที่อาจจะมีอยู่หรือแฝงอยู่ในงาน เพื่อหาวิธีการควบคุมและป้องกันด้วยตนเอง
5. ลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติงาน
6. ผู้ปฏิบัติงานให้ความร่วมมือในกิจกรรมด้วยวิธีการที่ผู้ปฏิบัติงานร่วมกันคิดค้น

รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร (Course Outline)
สถานการณ์ความไม่ปลอดภัย / อุบัติเหตุในสถานประกอบการของไทยในปัจจุบัน
ความหมายของความปลอดภัย
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ / แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ / หลักในการดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุ
เทคนิคและวิธีการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT 4 ขั้นตอน
Workshop : การฝึกเขียนลำดับขั้นการทำงานและการวิเคราะห์จากงานตัวอย่าง เพื่อปรับปรุงการทำงานและอุบัติเหตุในการทำงาน
Workshop : การนำเสนอผลงานกลุ่ม

รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม
1. การบรรยาย
2. กรณีศึกษา
3. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop
4. การนำเสนอผลงานกลุ่ม

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม