หลักสูตรฝึกอบรม การสื่อสารอย่างสัมฤทธิ์ผล สำหรับองค์กรที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม - หลักสูตร 1 วัน
(Inter-Cultural Communication Skill Development)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การสื่อสารอย่างสัมฤทธิ์ผล สำหรับองค์กรที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Inter-Cultural Communication Skill Development)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

หลักการและเหตุผล
จากวิวัฒน์ของเศรษฐกิจโลกและโลกาภิวัฒน์ส่งผลให้ชาวต่างประเทศเข้ามา มีบทบาทในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในฐานะนักลงทุน ผู้ประกอบการและนักวิชาชีพ ในปัจจุบันจึงมีชาวต่างประเทศทำงานและเป็นส่วนหนึ่งของบุคลากรในหลายองค์การ ซึ่งแน่นอนว่ากระบวนทัศน์ของการคิด วิธีคิดและแนวทางการปฏิบัติจะมีความแตกต่างไปจากบุคลากรในท้องถิ่น และด้วยความแตกต่างเหล่านี้ทำให้มีความไม่เข้าใจกันและขัดแย้งกันบ่อยครั้ง ในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรในองค์กร การปรับตัวเข้าหากันจึงจำเป็นสำหรับการทำงานร่วมกัน การเข้าใจถึงพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลมาจากวัฒนธรรม ความเชื่อ ความคิด จะช่วยให้บุคลากรสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิผล 
“การสื่อสารที่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป ในเวลาที่ไม่เหมาะสม กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ใช่เป้าหมาย คุณภาพของการสื่อสารทั้งในด้านกระบวนการ รูปแบบ สารสนเทศ วิธีการและทักษะความสามารถของผู้สื่อสารและผู้รับสาร เป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งต่อสัมฤทธิผลของการสื่อสารทั้งในองค์การและระหว่างองค์การ” บ่อยครั้งที่พบว่าสาเหตุรากเหง้าหนึ่งของความล้มเหลว ความผิดพลาดและปัญหาการดำเนินงานในองค์การ มีสาเหตุจากข้อบกพร่องที่มีขึ้นในกระบวนการสื่อสารภายในองค์การ ที่มีจุดเริ่มต้นจากช่องว่าง (Gap) ระหว่างระดับทักษะความสามารถในปัจจุบันกับระดับทักษะที่เหมาะสม ในด้านการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์การ ซึ่งช่องว่างนี้เกิดขึ้นกับบุคลากรทั้งในระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ จนเป็นผลให้การถ่ายทอดนโยบายและกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ การสั่งการต่างๆเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิผล นโยบายต่างๆไม่สามารถขับเคลื่อนจนกระทั่งสัมฤทธิ์ผลได้อย่างสอดคล้องกับเป้าหมาย หรือเป็นไปตามความคาดหวังของผู้บริหารอย่างครบถ้วน ในทางกลับกันการนำเสนอ การรายงานและการสื่อสารจากระดับปฏิบัติการสู่ระดับ บริหารจัดการก็มีความบกพร่องในลักษณะเดียวกัน 
ประสิทธิผลของการสื่อสารภายในองค์การสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ด้วยการพัฒนาทักษะความสามารถในการสื่อสารของบุคลากร ร่วมกับการลดทอนอุปสรรคจากองค์ประกอบของการสื่อสาร อาทิ กระบวนการสื่อสาร เทคนิควิธีและรูปแบบการสื่อสาร ตัวสารหรือสารสนเทศ ช่องทางในการสื่อสาร ฯลฯ กล่าวคือ ตัวบุคคล (People) กระบวนการ (Process) และเทคนิคหรือเทคโนโลยี (Technology) ต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงไปพร้อมๆกันจึงจะสามารถบรรลุการ ปรับปรุงประสิทธิผลของการสื่อสารภายในองค์การทั้งในระดับบุคคล ระดับส่วนงาน ระดับฝ่ายงานได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามความสามารถและทักษะการสื่อสารของบุคคลมีความสำคัญเป็น ลำดับแรกสุดของการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารขององค์การ เนื่องจากบุคคลเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารในจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของกระบวนการสื่อสาร รวมทั้งการพัฒนาทักษะการสื่อสารของบุคคลต้องใช้ระยะเวลาและการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจึง จะสามารถพัฒนาจนยกระดับสมรรถนะความสามารถในการสื่อสารได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ทั้งนี้ “การพัฒนาทักษะการสื่อสารครอบคลุมทั้งทักษะการคิด การพูด การนำเสนอ การถ่ายทอดด้วยวิธีการอื่นๆ และที่สำคัญมากคือทักษะการฟัง การสรุปความ การสังเกตภาษาท่าทางของผู้ส่งสาร ทั้งนี้เพื่อให้สามารถสื่อสารและใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ และบุคคลที่จะสื่อสารด้วยได้อย่างสัมฤทธิ์ผล” 
ทักษะความสามารถในการสื่อสารจึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่งอีกทักษะหนึ่งที่บุคลากร ในทุกระดับขององค์การจะต้องฝึกฝนปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทุกองค์การที่คาดหวังความก้าวหน้าและการเติบโตอย่างยั่งยืน มีปัญหาในการดำเนินงานหรือความผิดพลาดในการปฏิบัติงานลดน้อยลง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและฝ่ายงานเป็นไปอย่างราบรื่น ส่งเสริมการปฏิบัติงานข้ามสายงานเป็นทีมที่สอดประสานกัน บรรลุเป้าหมายผลการดำเนินงานดียิ่งขึ้น จะต้องให้การฝึกอบรมและบ่มเพาะทักษะนี้ ให้แก่บุคลากรในทุกระดับอย่างเหมาะสม และให้โอกาสบุคลากรได้ฝึกฝนและใช้ทักษะดังกล่าวอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนเชี่ยวชาญและกลายเป็นทักษะพื้นฐานในการปฏิบัติงานที่บุคลากรในทุกระดับและ ทุกตำแหน่งงานสามารถใช้งานได้ อย่างมีประสิทธิผล 
“ทักษะการสื่อสารของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนายกระดับขึ้นแล้ว สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานและการดำเนินงานขององค์การในหลากหลายมิติ ซึ่งสามารถวัดและประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจขององค์การ” เช่น การบริหารการเปลี่ยนแปลงการใช้ในการเจรจาต่อรอง การนำเสนอโครงการแผนงาน การเสนอขายสินค้าและบริการ การสื่อสารการตลาด การสั่งการ การมอบหมายงาน การสอนงานของหัวหน้างานและผู้บังคับบัญชา เป็นต้น ซึ่งนอกจากการวัดและประเมินระดับสมรรถนะความสามารถของการสื่อสารของบุคลากร ที่วัดและประเมินพัฒนาการระดับบุคคลแล้ว ยังสามารถวัดและประเมินประโยชน์ในรูปของผลการดำเนินงานได้ด้วยจากการใช้ทักษะการสื่อสาร ในการปฏิบัติงานต่างๆดังกล่าวข้างต้น เช่น ยอดขาย ความสำเร็จของการปิดการขาย ความพึงพอใจของลูกค้าผู้ใช้บริการและลูกค้าภายใน ผลสำเร็จของงานตามตัวชี้วัดของงานต่างๆ ประสิทธิผลของการถ่ายทอดความรู้และการสอนงาน หรือบรรยากาศในการทำงานที่ดีความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่องานและองค์การ ข้อมูล ข่าวสารที่ทันสมัย ถูกต้อง ครบถ้วนและเหมาะกับเวลา เป็นต้น

วัตถุประสงค์
 เพื่อประเมินระดับทักษะความสามารถในการสื่อสาร และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลของบุคลากรแต่ละท่านที่เข้ารับการฝึกอบรมก่อนการฝึกอบรม
เพื่อแนะนำเทคนิคการพัฒนาทักษะความสามารถด้านการสื่อสาร ที่ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปฝึกฝนปรับปรุงทักษะด้วยตนเอง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจองค์ประกอบของการสื่อสารที่มีประสิทธิผล ลักษณะของกระบวนการของการสื่อสารที่มีประสิทธิผล รูปแบบ และวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้รับสาร การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมและผู้รับสารเพื่อกำหนดและใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมเพื่อบรรลุเป้าหมาย และการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารที่สามารถนำเทคนิคต่างๆไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
เพื่อแนะนำและฝึกฝนทักษะเทคนิคการสื่อสารและการประยุกต์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจงานของผู้เข้าอบรม เช่น การเตรียมสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและรายงาน การฟังและการสรุปความ การนำเสนอ การสร้างความมั่นใจในการพูดและการปราศรัย การสอนงาน การเจรจาต่อรอง การสื่อสารกับผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น 
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการสื่อสารผ่านการฝึกทดลองปฏิบัติ โดยมีแผนของตนเองอย่างต่อเนื่อง

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
หลักการสื่อสารในองค์กรที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
 ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลยุทธ์การสื่อสารที่เหมาะสมสำหรับบุคคลแต่ละประเภท 
สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารที่ดีและไม่ดี สาเหตุที่บุคคลบางคนสามารถสื่อสารได้ดี 
อุปสรรคขัดขวางการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล 
          สังคมวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่หล่อหลอมการบริหารแบบญี่ปุ่น 
          การสื่อสารและการตัดสินใจในบริษัทญี่ปุ่น 
          ความคาดหวัง บทบาทหน้าที่ การมีส่วนร่วมและการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรไทยและญี่ปุ่น 

ความเชื่อ ความคิดและการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น 
          การประยุกต์และใช้ประโยชน์เพื่อการปฏิบัติงาน 

การพัฒนาทักษะการสื่อสาร (ช่วงที่ 1)
การปรับปรุงและการพัฒนาทักษะการคิดเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิผล 
          วิธีการคิดสำหรับการคนทำงานสมัยใหม่ 
          การจัดทำแผนที่ความคิดเพื่อการลำดับความคิด 
          เทคนิคการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการสื่อสาร 

กิจกรรมการเรียนรู้ : Thinking Practice 
          การวิเคราะห์ขอบเขตงานและกระบวนการ 

การพัฒนาทักษะการสื่อสาร (ช่วงที่ 2)
การวิเคราะห์บุคคลเพื่อกำหนดกลยุทธ์และวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิผล 
          การวิเคราะห์รูปแบบปฏิสัมพันธ์ (Transactional Analysis) 
          การวิเคราะห์อวัจนภาษา (Non Voice Language) 
          การผูกมิตรเพื่อการเปิดใจในการสื่อสาร (Building Rapport)

การปรับปรุงและการพัฒนาทักษะการนำเสนอเพื่อการสื่อสาร 
          เทคนิคการจำลองจากต้นแบบ (Role Modeling Technique) 
          เคล็ดลับสู่การเป็นนักสื่อสารธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ 
          การคิดแบบ A3 เพื่อการสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิผล (A3 Thinking for Effective Communication) 

          กิจกรรมการเรียนรู้ : A3 Communication 
ทักษะสมรรถนะความสามารถ (Competency) ที่สนับสนุนการเป็นนักสื่อสารที่มีประสิทธิผล 
กิจกรรมการเรียนรู้ : การประเมินตนเองและการจัดทำแผนการพัฒนาทักษะการสื่อสารของตนเอง 
ถาม-ตอ


แนวทางการฝึกอบรม
การฝึกอบรมใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้คิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้ได้ทันที 
       การสร้างและกระตุ้นการสื่อสาร 2 ทาง เช่น
            - การแนะนำตัวเอง จุดประสงค์และความคาดหวังจากการอบรม
            - คำสำคัญต่างๆ (Key Words)
            - การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม
       การประเมินผลตนเองหลังการอบรม
            - ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม (Workshop)
            - ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ
       Workshop ประเด็นสำคัญที่สามารถฝึกทักษะได้
            - กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
            - นำเทคนิค เครื่องมือและแบบฟอร์มมาตรฐานไปทดลองใช้
            - แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
       Assignment เพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติม
            - หัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของตนเอง 
เนื้อหาของหลักสูตรมีทั้งการบรรยาย , การระดมสมอง (Brainstorming) , การปฏิบัติการ (Work Shop) , การแสดงสถานการณ์จำลอง (Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่มหรือ Group Coaching เพื่อให้ผู้เรียนรู้ สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม