หลักสูตรฝึกอบรม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน - หลักสูตร 1 วัน

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
  ปัจจุบันมีกฎหมายแรงงาน มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งระดับจุลภาค และมหภาค ยิ่งประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ทำให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานที่เป็นระดับสากล และระดับภูมิภาคมากขึ้น ผู้ประกอบการ (นายจ้าง ผู้บังคับบัญชา ลูกจ้าง ผู้แทน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย) จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ เข้าใจกฎหมายแรงงาน เพื่อนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง ไม่ฝ่าฝืน หรือกระทำการละเมิดต่อลูกจ้าง หรือบุคคลภายนอก หากบริษัท หรือผู้แทน กระทำการผิดพลาดก่อให้เกิดความเสียหายกับลูกจ้าง หรือสถานประกอบการ จะมีโทษขั้นเบาถึงขั้นรุนแรง โทษสูงสุดคือจำคุกไม่เกิน 1 ปี/ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท/ หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือหากไปละเมิดต่อบุคคลภายนอกอาจจะต้องรับและมีโทษทั้งทางแพ่ง และอาญาได้ หรือลูกค้าไม่สั่งสินค้า ฉะนั้นนายจ้าง ผู้บังคับบัญชา หรือผู้กระทำการแทนนายจ้าง ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายแรงงาน ยอมก่อให้เกิดปัญหาและความเสียหายในภายหลัง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องให้ความรู้ ความเข้าใจ แนวคิดกับผู้รับผิดชอบ เพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกตามกฎหมายกับลูกจ้าง หรือบุคคลภายนอก หรือในบทบาทของการให้คำปรึกษาแก่ลูกจ้าง หรือผู้เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจกฎหมายแรงงาน และนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบกับองค์กร ลูกจ้าง ลูกค้า หรือบุคคลภายนอก ทั้งในบทบาทของนายจ้าง ผู้บังคับบัญชา ผู้แทนนายจ้าง ที่ปรึกษา เป็นต้น
2. เพื่อมีแนวคิด เกิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน และการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กร และผู้เข้าอบรม

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
ภาพรวมกฎหมายแรงงาน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  และ พ.ศ. 255
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ลักษณะ 6 สัญญาจ้างแรงงาน) 

       ขอบเขตการบังคับ 
       ความหมายของนายจ้าง 
       สิทธิหน้าที่ของนายจ้าง/ลูกจ้าง 
       นายจ้างหักค่าจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหายได้หรือไม่ 
       นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติเกิน 8 ชั่วโมงได้หรือไม่ 
       การมาทำงานสายนายจ้างหักค่าจ้างได้หรือไม่ 
       เวลาทำงานของหญิงมีครรภ์ และลักษณะงานที่ทำ 
       เวลาทำงานของแรงงานเด็ก และลักษณะงานที่ทำได้
       การ OT. นายจ้างบังคับได้หรือไม่ 
       OT. มีกี่ประเภท และจ่ายค่าจ้างแต่ละประเภทอย่างไร 
       ลูกจ้างทดลองงานกฎหมายกำหนดไว้กี่วัน หากเลิกจ้างต้องจ่ายค่าเชยหรือไม่ 
       ค่าบอกกล่าวคืออะไร ต้องจ่ายทุกกรณีหรือไม่ 
       ลักษณะของสัญญาจ้าง (ทำเป็นหนังสือ หรือวาจากันแน่) 
       การบอกเลิกจ้างต้องบอกล่วงหน้าหรือไม่ 
       ลูกจ้างลาออกต้องแจ้งล่วงหน้าหรือไม่ 
       เทคนิคการบอกเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย 
       ระเบียบข้อบังคับของบริษัทมีความสำคัญและเชื่อมโยงกับกฎหมายแรงงานอย่างไร 
       ระเบียบข้อบังคับของบริษัทขัดแย้งกับกฎหมายแรงงานผลเป็นอย่างไร 
       การจัดทำระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่ถูกต้องควรทำอย่างไร 
       การกำหนดหลักเกณฑ์วันทำงาน  เวลาทำงานปกติ  และ เวลาพัก 
       การกำหนดหลักเกณฑ์วันหยุด และหลักเกณฑ์วันหยุด 
       การกำหนดหลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา  และทำงานในวันหยุด 
       การกำหนดหลักเกณฑ์วัน และสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด
       การกำหนดหลักเกณฑ์วันลาและหลักเกณฑ์การลาแต่ละประเภท 
       การกำหนดระเบียบวินัย และโทษทางวินัย 
       การกำหนดหลักเกณฑ์การร้องทุกข์ 
       การกำหนดหลักเกณฑ์การเลิกจ้าง 
       การกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ 
       การลากิจกฎหมายกำหนดไว้กี่วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่ 
       ลงโทษลูกจ้างอย่างไรที่ชอบด้วยกฎหมาย 
       เลิกจ้างอย่างไรไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 
       กรณีใดที่ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงและเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย 
       ลูกจ้างมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีเมื่อใด และสะสมได้หรือไม่ 
       ลูกจ้างลาออกเองนายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนค่าวันลาพักผ่อนประจำปีหรือไม 
       การร้องทุกข์  การพ้นสภาพการเป็นพนักงาน และการจ่ายค่าชดเชย 
       การล่วงละเมิดทางเพศ 
       การใช้แรงงานหญิง และโทษการฝ่าฝืน 
       การใช้แรงงานเด็ก และโทษการฝ่าฝืน 
       การเก็บเงินประกันความเสียหายอย่างไรที่ไม่ผิดกฎหมาย 
       การปรับค่าจ้าง/เงินเดือน   และจ่ายเงินโบนัสต้องทำทุกปีหรือไม่ หากไม่ทำผลเป็นอย่างไร 
       ความรับผิดของนายจ้าง ลูกจ้าง ทางแพ่ง และอาญากรณีที่ลูกจ้างไปกระทำการละเมิดต่อบุคคลภายนอก 
       บทลงโทษสำหรับนายจ้าง หัวหน้างานที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน 
       อำนาจของพนักงานตรวจแรงงาน 
       ถาม-ตอบ


แนวทางในการฝึกอบรม
บรรยาย/กรณีศึกษา/ถามตอบ

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
นายจ้าง ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่ปรึกษา และ/หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม