หลักสูตรฝึกอบรม ทักษะการฟา เพื่อการประชุมและสอนงาน - หลักสูตร 2 วัน
(Faclitative skill for Training and Meeting)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม ทักษะการฟา เพื่อการประชุมและสอนงาน (Faclitative skill for Training and Meeting)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

       ในการดำเนินกิจกรรมขององค์กร เวลาที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าช่วงอื่นๆ คือช่วงเวลาแห่งการประชุม และการพัฒนาบุคลากร ซึ่งก็ถือว่ากินสัดส่วนเวลาไม่น้อยเลยสำหรับการดำเนินกิจกรรมขององค์กร และถ้าการประชุม และการพัฒนาบุคลากรนั้นมีประสิทธิภาพด้วยแล้ว ก็เสมือนการติดปีกให้กับองค์กรเลยทีเดียว
       แต่บ่อยครั้งที่เรารู้สึกว่า ช่วงเวลาแห่งการประชุม และการพัฒนาบุคลากร หรือการสอนงานนั้น เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีประโยชน์เพียงพอ ทั้งจากการที่ไม่ได้ผลประชุมอย่างที่คาดหวัง หรือประชุมเรื่องเดิมๆ หรือการสอนงานที่ไม่สามารถเข้าถึงประสบการณ์ทำงานจริงได้ เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น การใช้สัดส่วนเวลาเกือบครึ่งหนึ่งขององค์กร ก็จะเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งสำหรับองค์กร
       ส่วนหนึ่งที่หลายองค์กรมองข้ามไปคือทักษะการประชุม (อันเป็นทักษะหนึ่งของ Facilitator) ที่จะช่วยให้การประชุมดำเนินไปอย่างมีประสิธิภาพ คือได้บรรลุวัตถุประสงค์ ได้รับข้อมูลรอบด้าน ในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งในหลายองค์กร ยินยอมที่จะว่าจ้างบุคคลภายนอกมาเพื่อดำเนินการประชุม หรือสอนงาน โดยเฉพาะ แต่หากบุคลากร ขององค์กรเองมีทักษะที่ว่านี้แล้วนั้น การประชุม ทั้งขนาดเล็กแบบ morning talk หรือใหญ่แบบประชุมประจำปี และการสอนงานทั้งในแผนกเดียวกันเอง หรือสอนงานพนักงานใหม่ทั้งหมด ก็จะสัมฤทธิ์ผลมากกว่า รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบุคคลภายนอกให้ไปช่วยดำเนินกิจกรรมอีกด้วย
       ซึ่ง ทักษะของการเป็นฟานั้นมีมากมายอันกล่าวให้หมดได้ยาก แต่ในการประชุม และการสอนงาน มีเพียงบางทักษะที่จำเป็นเท่านั้นก็จะสามารถดำเนินการฟาให้การประชุมหรือการสอนงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


หลักการและแนวความคิด

ทักษะการฟา (Facilitative Skill) คือทักษะของผู้นำกระบวนการกลุ่ม ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในที่ต่างๆที่มีการรวมกลุ่ม ทั้งกลุ่มธุรกิจ กลุ่มเพื่อการศึกษาเรียนรู้ กลุ่มเพื่อระดมสอง จนถึงกลุ่มเพื่อบำบัดเยียวยา เรียกได้ว่า ที่ใดมีกลุ่ม ที่นั้นควรจะต้องมีผู้ที่มีทักษะการฟาอยู่ด้วยเพื่อให้การรวมกลุ่มนั้นเกิดประโยชน์ทั้งของตัวกลุ่มเอง และประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมกลุ่ม
การฟา จึงมีความสำคัญมากขึ้นในการประชุมภายในองค์กร เพื่อเอื้ออำนวยให้การประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง ทักษะการฟาที่จะนำมาใช้ในการประชุมและการสอนงานนั้นประกอบด้วย การตั้งเป้าหมาย การฟัง การถาม การสะท้อน ทวนความ และการจับประเด็น รวมถึงทักษะการอ่านกลุ่ม อันเป็นทักษะที่ทำให้ฟาแตกต่าง มีเอกลักษณ์ แต่น่าหลงไหล


วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการรับรู้ และทดลองดำเนินการประชุม สอนงานในบทบาทฟาในองค์กร
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการ มีทักษะต่างๆ เพียงพอที่จะรับหน้าที่เป็นฟาในองค์กร
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้จริงอย่างมีคุณภาพ


กระบวนการฝึกอบรม
ใช้กระบวนการ Facilitative Coaching เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนได้สำรวจศักยภาพตนเอง ทักษะของตนเอง ในมิติต่างๆ และได้แนวทางการพัฒนาทักษะของตนเองตามรูปแบบการเรียนรู้ของตนเองด้วย ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ และสัมผัสประสบการณ์ ทักษะการฟา (Facilitative Skill) ต่างๆของตนเอง และผู้อื่น รวมถึงการได้ปฏิบัติการจริงอย่างเข้มข้น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน ตลอดทั้งกระบวนการ โดยมีภาพรวมของกระบวนการดังนี้

1. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ เลือกเรียนสิ่งที่จะนำไปใช้ทันที
2. การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จากประสบการณ์จริงที่เพื่อนมี
3. กระบวนการสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
      อบรม สัมมนา Facilitative Training and Coaching
      อบรม สัมมนา Training and Group Coaching
      อบรม สัมมนา Dialogue and Reflection
4. ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติจริงให้เกิดผลลัพธ์
5. กิจกรรมสร้างการตระหนักรู้ในตนเองและทีม
6. การถอดบทเรียนการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงเนื้อหา และสามารถนำไปใช้งานได้จริง


แก่นของ Facilitative Coaching
Facilitative coaching เป็นการเปิดพื้นที่การเรียนรุ้ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตระหนักรู้ด้วยตนเอง กระบวนการพัฒนาบุคลากรในเรื่องนั้นๆ Facilitative Coaching จะเน้นวิชาเป็นศูนย์กลางที่พร้อมให้ผู้เข้าร่วมอบรมสืบค้นความจริงของเฉพาะตนของตนเองในประเด็นนั้นๆ (หรือที่เรียกว่า ความรู้มือหนึ่ง) รวมถึงประสบการณ์ต่างๆที่ผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆถือเป็นอีกความจริงหนึ่งที่เพื่อนๆจะได้ร่วมกันสืบค้น
การตระหนักรู้ในตนเองและเคารพในประสบการณ์ของเพื่อนที่ร่วมเข้าอบรมจะช่วยให้เห็นคุณค่าในตัวเพื่อน เห็นศักยภาพในตัวเพื่อน เข้าใจความเหมือนและความต่างของมนุษย์ และเกิดการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ ตลอดเวลาทำกิจกรรม จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในของตนเอง และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองต่อไปในอนาคต


รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 วันที่ 1 กระบวนการ ตัวอย่างภาพรวมกิจกรรม
      อบรม สัมมนา 09:00-10:30 เตรียมความพร้อมการเรียนรู้ Check in, แนะนำตัว, Ice Breaking
      อบรม สัมมนา 10:45-12:00 สำรวจศักยภาพ พื้นฐาน Fish Bowl (จำลองการประชุม), แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เรื่องทักษะ
      อบรม สัมมนา 13:00-14:30 กลุ่ม และธรรมชาติของกลุ่ม ให้ความรู้เรื่องกลุ่ม, แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ กิจกรรมท้าทายกลุ่ม
      อบรม สัมมนา 14:45-16:00 Empathy และ สรุปการเรียนรู้ สำรวจความรู้ ทักษะที่ได้ และอยากพัฒนา


 วันที่ 2
      อบรม สัมมนา 09:00-10:30 เตรียมความพร้อม/review จับกลุ่มแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ และสิ่งที่อยากจะ ได้เพิ่ม
      อบรม สัมมนา 10:45-12:00 ทักษะการฟัง และตั้งคำถาม กิจกรรมเพื่อการฟัง ตั้งคำถาม และ discussion
      อบรม สัมมนา 13:00-14:30 ทักษะการสรุป ทวนความ จับประเด็น กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ และกิจกรรมท้าทาย กลุ่ม
      อบรม สัมมนา 14:45-16:00 สรุปการเรียนรู้ Role play/ Q&A/ Check out



สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ
ผู้เรียนจะได้สำรวจการทำงานที่แท้จริงของตนเอง ได้เห็นศักยภาพและข้อจำกัดของตนเองเมื่ออยู่ในที่ประชุม หรือการสอนงาน ได้สัมผัสประสบการณ์ และใคร่ครวญผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ตามรายละเอียดดังนี้
      อบรม สัมมนา 1. ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักรู้มีทัศนคติที่ดีต่อการประชุม และการสอนงาน
      อบรม สัมมนา 2. ผู้เข้ารับการอบรมมีกรอบความคิด (mindset) การเข้าใจตัวเองและผู้อื่นและสามารถเป็นผู้ดำเนินและผู้ร่วมกระบวนการที่ดีได้ทันที
      อบรม สัมมนา 3. ผู้เข้ารับการอบรมมีกระบวนการอยู่ร่วมกันและสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มทีม
      อบรม สัมมนา 4. ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะการเอื้ออำนวยการประชุมและเห็นแนวทางพัฒนาตนเองได้
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับพนักงานทุกระดับ ทั้งที่ต้องสัมผัสบรรยากาศการประชุม เป็นประจำ หรือต้องการเรียนรู้การดำเนินการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการก้าวหน้าในสายงาน รวมถึงกลุ่มที่ต้องการให้การเรียนรู้แบบออนไลน์ที่มีมากมายในปัจจุบันสามารถประยุกต์เข้ากับวิถีของตนเองได้ดียิ่งขึ้น


ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม