หลักสูตรฝึกอบรม บริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ - หลักสูตร 1 วัน
(6 Thinking Hat for Conflict Management)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม บริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ (6 Thinking Hat for Conflict Management)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและแนวความคิด
     “คิดแบบนี้กันได้อย่างไร ไม่รู้เอาสมองส่วนไหนคิด”
     “หากเรายอมรับข้อเสนอ ฝ่ายเราก็จะเสียเปรียบอีก ครั้งนี้น่าจะยอมเราบ้าง”
     “กฎ กติกา ข้อตกลงก็มี ทุกคนก็ควรต้องทำตาม”

     ถ้าทุกคนในองค์กรเป็นเหมือนกันกับตัวเราทั้งหมด จะเป็นเรื่องที่ดีจริงๆ หรือเปล่าครับ ?
     โดยธรรมชาติเราต่างทราบว่าไม่มี สมอง ของใครเหมือนกันเลย เหมือนกับลายนิ้วมือที่ไม่เคยซ้ำกัน ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เราต้องทำงานร่วมกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นระดับองค์กร แผนก ทีมงาน หรือแค่คู่หูกันสองสามคน ก็สามารถเกิดความแตกต่างของกระบวนการคิดและตัดสินใจได้ทันที ซึ่งหากเราไม่รู้ทันและทำความเข้าใจถึงความหวังดีของแต่ละบุคคลที่ซ่อนอยู่บนความแตกต่างนี้ ก็จะนำไปสู่ความแตกแยก จนกลายเป็นข้อขัดแย้งภายในการทำงานร่วมกันได้ เพราะต่างฝ่ายต่างอยากให้งานและเป้าหมายประสบความสำเร็จ เพียงแต่ทุกฝ่ายเห็นวิธีการสู่ความสำเร็จบนมุมมองของตนเอง
     สาเหตุของความแตกต่างในตัวละบุคคลนั้นมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับ Being (ความเป็นตัวตน) Value (ค่านิยม) Brain Working (รูปแบบการคิด) และ Role and Responsibility (บทบาทและหน้าที่) ซึ่งมักเป็นส่วนที่ซ่อนเร้นอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง ก่อนจะกลายมาเป็นคำพูดและพฤติกรรมการทำงานที่เรามองเห็น ดังนั้นความขัดแย้งหลายครั้งจึงเกิดจาก การที่แต่ละฝ่ายต่างไม่เข้าใจว่าทำไมอีกฝ่ายจึงคิด จึงพูด จึงทำแบบนั้น หรือขัดแย้งเพราะคาดหวังว่าอีกฝ่ายน่าจะยอมเข้าใจความหวังดีของเราบ้าง ดังนั้นขั้นตอนแรกของการบริหารความขัดแย้งคือ การทำความเข้าใจเจตนาที่แท้จริง ที่อยู่เบื้องหลังคำพูดของอีกฝ่าย ซึ่งด้วยเครื่องมือ 6 Thinking Hat จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจความแตกต่างที่ระดับของ Brain Working และ Role and Responsibility ของแต่ละบุคคลได้ เราจะเข้าใจได้ว่าที่อีกฝ่ายพูดเช่นนั้น อาจไม่ใช่เป็นเพราะเขาอยากขัดแย้งกับเรา แต่เป็นเพราะกรอบความคิดบนบทบาทและหน้าที่ของเขา ทำให้เขาต้องคิดและพูดเช่นนั้น และตัวเราเองก็เช่นกัน เรารู้ทันตัวเราเองหรือไม่ว่า เรากำลังคิดและพูดด้วยบทบาทของหมวกสีใด
     เมื่อเข้าใจความต้องการที่แท้จริงแล้ว เราก็จะสามารถหยุดการใช้อารมณ์ในการตัดสิน แล้วหันมาใช้สมองส่วนคิดในการสื่อสารเพื่อเจรจาต่อรอง เพื่อหาจุดสมดุล บนข้อจำกัดของความต้องการของแต่ละฝ่ายในขั้นต่อไป ทำให้แต่ละฝ่ายสามารถบรรลุเป้าหมายของการสื่อสารในการทำงานร่วมกันได้อย่างสร้างสรรค์ เพราะจริงๆ เราต้องการความแตกต่างของแต่ละฝ่ายในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การมองเห็นสถานการณ์เป็นไปอย่างรอบด้านมากขึ้น และเป็นต้นกำเนิดของความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายมากพอ ที่จะพาทีมและองค์กรก้าวไปข้างหน้า ไม่ติดอยู่กับกรอบเดิมๆ จนรับมือการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน
     เราอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งได้ แต่เราสามารถบริหารข้อขัดแย้ง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สร้างสรรค์ได้ และ 6 Thinking Hat จะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยทั้งในแง่ของการสื่อสารสร้างสัมพันธ์ร่วมกัน และช่วยกระตุ้นให้ทุกคนสามารถคิดหาทางเลือกใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา ด้วยกรอบความคิดที่มาจากบทบาทใหม่ๆ ที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งหลายครั้ง แค่เราลองเปลี่ยนบทบาทของหมวกที่ใส่ ความคิดของเราและคนอื่นๆ ก็อาจไม่ได้แตกต่างกันอีกต่อไป


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสร้างกรอบความคิดใหม่ในเชิงบวก ต่อสถานการณ์การทำงาน บนความคิดที่แตกต่างกัน มั่นใจในศักยภาพตนเองในการบริหารจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมใช้เครื่องมือหมวก 6 ใบ เพื่อทำความเข้าใจความแตกต่างทางความคิด บนกรอบของบทบาทและหน้าที่ซึ่งแตกต่างกัน
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้เครื่องมือหมวก 6 ใบ ในการสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ๆ ในการแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่เป็นใจ ไม่ยึดติดกับแนวทางเดิมๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อขัดแย้งตามมา
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้กรอบแนวคิดของหมวก 6 ใบ ไปฝึกฝนจนเกิดเป็นทักษะในการบริหารความขัดแย้ง
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกฝนการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธ์ ลดความขัดแย้งด้วยการสื่อสารในโลกของผู้อื่นให้มากขึ้น

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
ช่วงที่ 1 Exploration สำรวจกรอบความคิดเพื่อการมองเห็น ยอมรับ และพร้อมจะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง
      อบรม สัมมนา สำรวจมุมมองต่อความขัดแย้งในตัวเรา
      อบรม สัมมนา ธรรมชาติของความขัดแย้ง ธรรมชาติในการทำงาน
      อบรม สัมมนา สถานการณ์และปัจจัยที่เป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งในการทำงาน
      อบรม สัมมนา Workshop ค้นหาปัจจัยของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการทำงานของตัวเราเอง
      อบรม สัมมนา ตัวอย่างกิจกรรม เข้าใจความแตกต่างซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งบนบทบาทของแต่ละบุคคล ผ่านการสนทนาผ่านหมวก 6 ใบ
ช่วงที่ 2 Empowerment สร้างกรอบความคิดเชิงบวก สร้างความเชื่อมั่นในการทำงานบนความขัดแย้ง
      อบรม สัมมนา หลุมพรางในการเกิดความขัดแย้งทั้งที่ไม่ต้องการให้เกิด
      อบรม สัมมนา เทคนิคในการก้าวข้ามหลุมพรางทางความคิดเพื่อเอาชนะความขัดแย้งภายใน
      อบรม สัมมนา หลักในการบริหารความขัดแย้งที่พบบ่อยในการทำงาน
      อบรม สัมมนา Workshop สร้างวิธีการจัดการหลุมพรางของตัวเราด้วยหลักการบริหารความขัดแย้ง
      อบรม สัมมนา ตัวอย่างกิจกรรม ระดมสมองเพื่อใช้หลักคิดของหมวก 6 ใบในการก้าวข้ามหลุมพรางของความขัดแย้ง
ช่วงที่ 3 Expanding การฝึกฝนเพื่อเพิ่มทักษะในการบริหารความขัดแย้ง
      อบรม สัมมนา ทักษะสำคัญในการบริหารความขัดแย้ง บนกรอบความคิดของหมวกแต่ละใบ
           - การมีมุมมองเชิงบวกต่อผู้อื่น (หมวกสีเหลือง)
           - สร้างทักษะการสื่อสารสร้างสัมพันธ์ (หมวกสีแดง)
           - การคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้อื่น (หมวกสีดำ)
           - ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ การใช้ข้อมูลบนมุมมองที่แตกต่าง โดยไม่รีบตัดสิน (หมวกสีขาว)
           - ทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ การให้ความสำคัญกับเป้าหมาย มากกว่าปัญหา (หมวกสีน้ำเงิน)
           - ทักษะการคิดสร้างสรรค์ การเปิดใจรับความคิดเห็นที่แปลกใหม่ๆ และแตกต่าง (หมวกสีเขียว)
      อบรม สัมมนา Workshop กำหนดแนวทางในการพัฒนาทักษะในการบริหารความขัดแย้งของตนเอง
      อบรม สัมมนา กิจกรรม ฝึกฝนการสื่อสารในโลกของผู้อื่น ด้วยการเข้าใจวิธีการสื่อสารของหมวกแต่ละใบ
ช่วงที่ 4 Engagement เชื่อมโยงองค์ความรู้เข้ากับสถานการณ์เพื่อการนำไปใช้จริง
      อบรม สัมมนา การทำงานเป็นทีม เพื่อบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
      อบรม สัมมนา แนวทางการโค้ชด้วยหมวก 6 ใบเพื่อแก้ไขสถานการณ์ความขัดแย้งในการทำงาน
      อบรม สัมมนา เรื่องเล่าเร้าพลัง เพื่อสร้างแนวคิดการทำงานเป็นทีม
      อบรม สัมมนา ตัวอย่างกิจกรรม ฝึกฝนการใช้หมวก 6 ใบกับกระบวนการโค้ช
Case Study แสดงบทบาทสมมติเพื่อสร้างแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งจริงในการทำงาน
ช่วงถามตอบปัญหา
การบ้านและแนวทางการติดตามผล

กรอบแนวคิดในการฝึกอบรม


แนวทางในการฝึกอบรม
Training and Group Coaching ใช้กระบวนการผสมผสานทั้งการ Teaching, Training และ Coaching ในระหว่างการอบรม เพื่อให้ผู้เรียนได้รับทั้งความรู้ ความเข้าใจ ฝึกฝนทักษะ และทัศนคติที่ดี
      อบรม สัมมนา Teaching for Knowledge เพื่อให้ข้อมูลหรือทำความเข้าใจเนื้อหาตามหัวข้อบรรยาย
      อบรม สัมมนา Training for Skill เพื่อฝึกทักษะผ่านการทดลองคิด วางแผนและปฏิบัติ ผ่านแบบทดสอบ กิจกรรม และกรณีศึกษา
      อบรม สัมมนา Coaching for Explore เพื่อสำรวจสิ่งที่เป็นหลุมพราง ความเชื่ออันจำกัด ซึ่งเป็นตัวฉุดรั้งความสำเร็จ และหันมาค้นหาศักยภาพ จุดแข็ง หรือคุณค่าที่ดีที่สามารถนำมาใช้สร้างแนวทางสู่ความสำเร็จของตนเอง
      อบรม สัมมนา Coaching for Change ใช้กระบวนการ Coaching เพื่อสร้างเป้าหมาย ทางเลือกใหม่ๆ และแรงจูงใจที่จะนำไปสู่การลงมือปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
Brain Based Learning ทำความเข้าใจธรรมชาติการทำงานของสมองในการเรียนรู้ สร้างสภาวะที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้สมองของผู้เรียนมีความสุข ไม่ทำให้เกิดความกลัวหรือความกังวล เน้นการพัฒนาจากจุดแข็ง และใช้สมองส่วนคิดให้มากขึ้นเพื่อสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ แทนการตกอยู่ใต้อิทธิพลของสมองส่วนอารมณ์ที่เป็นลบ แล้วใช้วงจรพฤติกรรมเดิมในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
Positive Psychology สร้างสภาวะที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ด้วยการสร้างสมดุลของการสนับสนุนและความท้าทาย บนหน้าที่และเป้าหมายที่ตั้งไว้ กระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาคุณค่าของตนเอง และมองเห็นประโยชน์และผลตอบแทนที่มากกว่าปัจจัยภายนอก แต่เป็นการพัฒนาตนเองและการได้ใช้คุณค่าของตนเองในการทำงาน เห็นความสำคัญของการได้ช่วยเหลือผู้อื่นและองค์กรด้วยสิ่งที่ตนมี

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
ระดับปฏิบัติงาน
หัวหน้างาน
ผู้จัดการ

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม