หลักสูตรฝึกอบรม ปรับปรุงกระบวนงานและเครื่องมือบริหารจัดการงาน - หลักสูตร 2 วัน
(Working Process Improvement and Solution Management Tools)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / Management and Productivity / หลักสูตรฝึกอบรม ปรับปรุงกระบวนงานและเครื่องมือบริหารจัดการงาน (Working Process Improvement and Solution Management Tools)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

หลักการและเหตุผล
 โลกของการแข่งขันในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบวนการทำงานของทุกระดับในองค์กรมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังต้องแข่งขันกับเวลา ทำให้รูปแบบหรือกระบวนการทำงานเดิมขององค์กรอาจไม่เพียงพอที่จะเติบโตหรือแม้กระทั่ง รักษาขีดความสสามารถทางการแข่งขันที่มีอยู่เดิมไว้ได้
 การทำงานโดยทั่วไปมักจะมีความสูญเปล่าแอบซ่อนอยู่ในกระบวนการ โดยมีทั้งแบบมองเห็นด้วยตาเปล่าและไม่สามารถมองเห็นได้ ดังนั้นหากองค์กรใดสามารถลดความสูญเปล่าในขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานที่มีอยู่ได้มากเท่าไร ยิ่งจะส่งผลถึงต้นทุน กำไร ความพึงพอใจของลูกค้าและทีมงานรวมถึงช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้มากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
 ไคเซ็น (KAIZEN) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้นหรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ..... เป็นแนวทางปฏิบัติที่ไม่ได้ทำจบในครั้งเดียว แต่หมายถึงการทำอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักการคือ
       กำหนดเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน
       ค้นหาความสูญเปล่าในขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน
       วิเคราะห์สาเหตุและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขจนกระทั่งบรรลุเป้าหมาย
       กำหนดเป้าหมายที่สูงขึ้นแล้วดำเนินการตามขั้นตอนปรับปรุงใหม่อีกครั้ง
       ปฏิบัติตามวงจรนี้อย่างต่อเนื่อง
 ปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นในการทำงานทำให้เกิดความสูญเสียซึ่งส่งผลกระทบกับผลผลิต ต้นทุน รวมทั้งอาจกระทบกับการดำเนินงานในส่วนอื่นๆ ซึ่งความสูญเสียบางประการเป็นสิ่งที่เราอาจป้องกันได้ ถ้าเข้าใจกระบวนการและวิเคราะห์ได้ถึงที่แหล่งที่มารวมทั้งกระบวนการที่ทำให้เกิดความสูญเสียนั้นๆ หลักการ ความสูญเสีย 7 ประการ(7 Waste) จะช่วยให้เราเข้าใจและมองได้เห็นถึงความเสี่ยงต่างๆในกระบวนการทำงานที่มีโอกาสทำให้เกิดความสูญเสียตามมา และการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากร (6M : Man Machine Materials Money Method Management ) จะช่วยให้เราป้องกันหรือหาแนวทางแก้ไขได้อย่างตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น
 KAIZEN มีเทคนิคและเครื่องมือมากมายที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานได้ เช่น 5ส , P-D-C-A , Why-Why , ผังก้างปลา เป็นต้น ..... ดังนั้นผู้ที่นำหลักไคเซ็นไปประยุกต์ใช้ควรมีทั้งความรู้ ทักษะที่เกี่ยวข้องและกรอบความคิดที่ดีของการเป็นผู้พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
 แนวคิดเกี่ยวกับวงจร PDCA ซึ่งถูกคิดค้นโดย Edwards W. Deming เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญสำหรับการวางแผนแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น ยิ่งเฉพาะบริษัท TOYOTA ที่ถือเป็นองค์กรขนาดใหญ่ระดับโลกยังมีการนำหลักการPDCA นี้มาใช้ในกระบวนการผลิตรถยนต์ และพัฒนาจนกลายเป็น TOYOTA WAY อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน ดังนั้นจึงพิสูจน์แล้วว่าหลักการ PDCA สามารถนำมาใช้เพื่อกรปรับปรุงและพัฒนาระบบการทำงานขององค์กรให้ดีขึ้นได้แม้กระทั่งองค์กรนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการผลิตในอุตสาหกรรม เพราะหลักการ PDCA Plan-Do-Check-Act สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกงานแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวัน
 การบริหารกระบวนการทำงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เกิดจากจิตใต้สำนึกหรือหลักคิด(Mindset)ของผู้ปฏิบัติการ จึงควรมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติการมองเห็นประโยชน์ที่เขาจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ได้แก่ การได้ใช้จุดเด่นหรือจุดแข็งในการทำงานมากขึ้น การส่งต่อคุณค่าในงานต่อผู้อื่น เป็นต้น จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาตัวเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อหน่วยงานหรือองค์กรด้วยเช่นกันเมื่อพนักงานมีผลปฏิบัติงานหรือ Productivities เพิ่มมากขึ้น
 การนำเสนอโครงการปรับปรุงกระบวนงานด้วย 1 Page Summary & Report ถือเป็นเครื่องมือที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในบริษัทชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นการรายงานที่ง่าย กระชับ เข้าใจง่ายสำหรับผู้อ่าน ใช้ต้นทุนน้อย แต่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ ใน Reportนี้จะแสดงถึงรายละเอียดอย่างครบถ้วน แต่กระชับและเข้าใจง่าย แสดงถึงสถานะปัจจุบันของปัญหาหรือเหตุการณ์ สาเหตุที่เกิด แนวทางแก้ไขและการติดตามผ่านกระดาษ1 หน้าอันทรงประสิทธิภาพเพียงแผ่นเดียว ซึ่งบางครั้งกระดาษแผ่นนี้อาจแสดงถึงความครบถ้วนมากกว่าการทำรายงานReportเป็นเล่มด้วยกระดาษหลายแผ่นอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นการฝึกพัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน จะช่วยย่นทั้งระยะเวลา และงบประมาณ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารได้อย่างเข้าใจและเข้าถึงง่ายสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์
 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและหลักการของไคเซ็น(Kaizen) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
 เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจและมองเห็นภาพของความสูญเปล่าและการทำงานที่เพิ่มคุณค่าได้ชัดเจนขึ้น
 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการทำงานที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า 7 ประเภท พร้อมทั้งค้นหาสาเหตุที่ที่เกิดจากการบริหารจัดการทรัพยากร 6M ที่มีอยู่
 เพื่อให้ผู้เรียนได้นำเทคนิคและเครื่องมือต่างๆ มาปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้
 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดหลักการบริหารแบบ PDCA
 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเครื่องมือหรือเทคนิคไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาผลการทำงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักการการกำหนดเป้าหมาย การวางแผน การกำหนดตัวชี้วัดและการติดตามประเมินผล ผ่านการจัดทำและนำเสนอโครงการ

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
Day I :  พัฒนาทักษะการคิดเพื่อการปรับปรุงกระบวนการทำงานตามหลัก P-D-C-A
 PART 1 : เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการปรับปรุง/พัฒนาประสิทธิภาพงาน
       สำรวจแนวคิดเรื่องความสูญเปล่าและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
       ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฏจักรและรูปแบบของความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากการทำงาน
       สร้างการตระหนักรู้ในกระบวนการทำงานของตนเอง
       หลุมพรางทางความคิดที่สกัดกั้นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของตัวเอง
       เทคนิคในการเอาชนะหลุมพรางทางความคิด
       Workshop : การเอาชนะหลุมพรางทางเพื่อปรับเปลี่ยนหลักคิดใหม่ของตัวเอง
 
PART 2 : พัฒนาทักษะการคิดที่สำคัญสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน
       สำรวจแนวความคิดด้านทักษะการคิดของตัวเอง
       หลักการสำคัญของการเป็นนักคิด
       เข้าใจการทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการคิด
       ครบเครื่องเรื่องทักษะการคิด 5 แบบเพื่อกำจัดความสูญเปล่าและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
           - การคิดเชิงแก้ปัญหา ( Problem Thinking )
           - การคิดเชิงวิเคราะห์ ( Analytic Thinking )
           - การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creativity Thinking )
           - การคิดเชิงกลยุทธ์ ( Strategic Thinking )
           - การคิดเชิงบูรณการ ( Integrated Thinking )
        Workshop : กิจกรรมพัฒนาทักษะการคิด
 PART 3 : พัฒนาทักษะของการทำงานเพื่อลดความสูญเปล่าด้วยเทคนิคต่างๆ
       การมองภาพแบบองค์รวมด้วยหลักคิดเชิงระบบ
       การวิเคราะห์สาเหตุด้วยผังก้างปลา
       การใช้คำถาม 5 Whys
       หลักพาเรโต 80:20
       เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ (Six Thinking Hats)
       เพิ่มคุณภาพงานด้วย 7QC Tools
       Workshop :  เทคนิคที่ท่านจะนำมาพัฒนาตัวเอง
 
PART 4 : พัฒนาทักษะการทำงานเพื่อลดความสูญเสีย(7Waste) ด้วยหลัก PDCA
       เข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับความสูญเปล่า 7ประการ ( 7 Wastes)ที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน
       ทำความเข้าใจหลักคิดและหลักการของการคิดแบบ PDCA เพื่อปรับปรุงกระบวนงาน
       PDCA = กระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพิชิตเป้าหมาย
       หลักการกำหนดเป้าหมาย(GOAL)เพื่อการปรับปรุง/พัฒนาคุณภาพงานที่มีประสิทธิภาพตามหลัก SMART
       P : Plan …. สร้างแผนการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพและตัวชี้วัดเพื่อการติดตามผล
       D : Do หลักคิดในการปฏิบัติงานเพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามที่วางแผนไว้
       C : Check หลักการตรวจสอบและการรายงานผลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีนัยสำคัญเพื่อนำไปปรับปรุง/พัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป
       A : Act หลักการกำหนดขั้นตอน/วิธีปฏิบัติเพื่อการแก้ไข/พัฒนาผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง
       Workshop : เชื่อมโยงหลักการPDCAเข้ากับรูปแบบการทำงานในปัจจุบันของท่าน

Day II    : ประยุกต์ใช้หลักการลดความสูญเปล่ากับการทำงานด้วยรูปแบบการนำเสนอโครงการ
 PART 1 : เทคนิคการคิดและการจัดทำโครงการด้วย PDCA 1 Page Summary & Report
       7 องค์ประกอบของการคิดและการรายงานแบบ PDCA 1 Page summary
       สร้างPattern การคิดและการReport ด้วย 1 Page Summary
       ความเชื่อมโยงของ PDCA และ 1 Page Summary Format
       เรียนรู้และเข้าใจการใช้แบบฟอร์ม 1 Page Summary
       Workshop: สร้างแนวคิดเกี่ยวกับการคิดแบบ 1 Page Summary & Report
 PART 2 : พัฒนาทักษะการคิดค้นโครงการและการบริหารโครงการระดับต้น
       เรียนรู้และเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ
       รูปแบบและองค์ประกอบของการทำโครงการ
       บริหารโครงการอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย
       เครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารโครงการ
       เทคนิคการจัดลำดับความสำคัญของงานและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธฺภาพ
       Workshop : ประยุกต์ใช้เครื่องมือและPDCAกับสถานการณ์จริงในการทำงาน
       
Workshop : การคิดและการนำเสนอโครงการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วย 1 Page Summary & Report

แนวทางการฝึกอบรม [Training and Group Coaching]
 การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ในทันที ด้วยแนวทางของตัวเอง
 การฝึกอบรมมีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ คิดถึงสถานการณ์ การทำงานของตัวเอง
       การบรรยาย : เน้นเนื้อหาที่ใกล้ตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
       Work Shop : กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
       การนำเสนอ : เกิดการฝึกฝนการแสดงออกและทำงานเป็นทีม
       Role Playing : ทำให้เห็นสถานการณ์จริง โดยการแสดงแบบสมมติ
       การตอบคำถาม : จูงใจให้ผู้ฝึกอบรมได้คิด และแสดงความคิดเห็น
       การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
 วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้นๆ โดยการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยตัวเอง

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
 ผู้จัดการ / หัวหน้างานทุกระดับ
 Line Leader
 Staff  / พนักงานระดับปฏิบัติการ

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม