หลักสูตรฝึกอบรม ผู้จัดการในฐานะผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - หลักสูตร 2 วัน
(The Line Manager as HRD)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / การบริหารงาน (Management and Productivity) / หลักสูตรฝึกอบรม ผู้จัดการในฐานะผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (The Line Manager as HRD)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

หลักการและเหตุผล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นจะต้องพัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติของพนักงานให้ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตัวบุคคล ทีมงาน และองค์กรในระระยาว ดังนั้น ผู้ที่เหมาะสมกับบทบาทนี้ย่อมต้องเป็น หัวหน้างาน (Line Manager) ของแต่ละหน่วยงาน เพราะมีความเข้าใจและใกล้ชิดบุคลากรมากที่สุด
การได้เรียนรู้และเข้าใจขอบเขตความรับผิดชอบของหน่วยงาน HRD และเข้าใจถึงภารกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ รวมถึงกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับลักษณะงานอย่างชัดเจน ย่อมทำให้หัวหน้างาน (Line Manager) สามารถมีส่วนสนับสนุนและช่วยเหลือ ให้แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผลสูงขึ้น
ผู้จัดการ (Line Manager) สามารถกำหนดกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรได้ด้วยตัวเอง เพราะจะรู้ถึงข้อเด่นและข้อต้องพัฒนาของบุคลากรในทีมมากกว่าผู้อื่น ดังนั้น การทำหน้าที่ร่วมกับ HRD เสมือนหนึ่งเป็นทีมงาน HRD ย่อมทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรได้ผลลัพธ์ตาม competency ที่เป็นช่องว่างของบุคลากรแต่ละคนได้มากกว่าการส่งให้หน่วยงาน HRD เป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้จัดการปฏิบัติตัวในฐานะ HRD โดยเรียนรู้และเข้าใจความรับผิดชอบของ HRD ให้ครบถ้วน (HRD for Non-HRD)
เพื่อสร้างแนวทางความคิดให้ผู้จัดการเห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร ควบคุมกับกิจกรรมที่ HRDกำหนดขึ้นได้อย่างสอดคล้องมากขึ้น
เพื่อจูงใจให้ผู้จัดการทุ่มเทความรู้ ความสามารถพัฒนาบุคลากรด้วยตัวเองในฐานะตัวแทนของ HED ในงานที่ HRD ไม่สามารถปฏิบัติได้ทั่วถึง
เพื่อทำให้ผู้จัดการเข้าใจ HRD ขององค์กรมากขึ้น และร่วมกันเป็น Strategic Partner ในการพัฒนาบุคลากร
 
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
DAY I : เรียนรู้ของเขตความรับผิดชอบของ HRD
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของ HRD
       ความหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
       ภารกิจและเป้าหมายที่สำคัญของงานด้วย HRD
       ขอบเขตความรับผิดชอบในฐานะ Strategic partner
       HRD กับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
       Workshop: ประเมินบทบาทหน้าที่ของตัวเอง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตาม Competency
       นิยามความหมายหลักของ Competency
       ประเภทของ Competency ในแต่ละระดับ
       การประยุกต์ใช้ Competency เพื่อการพัฒนา
       กำหนดแนวทางความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากร
       Workshop: กำหนด Competency ที่เหมาะสมของทีมงาน

กระบวนการพัฒนาบุคลากรในฐานะผู้จัดการ
       การคัดเลือกและว่าจ้างบุคลากร
       การรักษาบุคลากรที่ดีไว้
       การประเมินผลการปฏิบัติงาน
       การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก
       การพัฒนาบุคลากรตามศักยภาพ
       Workshop: กำหนดแนวทางการพัฒนาทีมของตัวเอง 

บทบาทของผู้จัดการในฐานะ HRD
       การเป็นนักฝึกอบรม (Trainer)
       ผู้จัดการในฐานะโค้ช (Coach)
       การให้การดูแลในฐานะพี่เลี้ยง (Mentor)
       การช่วยเหลือในฐานะที่ปรึกษา (Consult)
       Workshop: กำหนดบทบาทที่เหมาะสมของตัวเอง 


DAY II : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้จัดการ 
การพัฒนา “คนแก่ง” ให้มีคุณภาพ
       แนวความคิดเรื่องการพัฒนา “คนเก่ง”
       หลุมพรางทางความคิดของ “คนเก่ง”
       การดึงศักยภาพของ “คนเก่ง” โดยโค้ช
       การสร้างเส้นทางอาชีพ “คนเก่ง” ด้วยระบบพี่เลี้ยง
       Workshop: แนวความคิดพัฒนา “คนเก่ง” ของผู้จัดการ

กระบวนการการบริหารพนักงานดาวเด่น (Talent)
       เทคนิคการค้นหาผู้ที่เป็น Talent
       การพัฒนาบุคลากรที่เป็น Talent
       ขั้นตอนการสร้าง Talent Pool
       การประเมินบุคลากร Talent
       การให้รางวัล Talent ของทีม
       Workshop: แนวทางการบริหาร Talent ของตัวเอง

การวางแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)
       แนวความคิดการสร้างผู้สืบทอด
       เมื่อไรต้องทำ Succession Plan
       ความผิดพลาดที่ต้องระวังของการจัดทำแผน
       กระบวนการจัดทำแผนที่มีคุณภาพ
       Workshop: ออกแบบแผนงานการสืบทอดตำแหน่ง 

กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรตามเป้าหมาย
       การศึกษาด้วยตัวเอง (Self-Study)
       การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง (On-the Job Experience)
       การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ (Learning from Experts)
       การทำงานแบบคู่หู (Buddy Working)
       การฝึกอบรมหรือเข้าสัมมนา (Training & Seminar)
       Workshop: การแลกเปลี่ยนกิจกรรมการพัฒนา

การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง

แนวทางการฝึกอบรม [Training and Group Coaching]
การฝึกอบรมในรูปแบบของการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ทำให้ผู้เรียนรู้สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้ทันที เพราะได้ดำเนินการคิดร่วมกันระหว่างการฝึกอบรมแล้ว
การฝึกอบรมมีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความสนุกสนานและเข้าใจง่าย
       การบรรยาย : เน้นเนื้อหาที่ใกล้ตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
       Work Shop : กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
       การนำเสนอ : เกิดการฝึกฝนการแสดงออกและทำงานเป็นทีม
       การตอบคำถาม : จูงใจให้ผู้ฝึกอบรมได้คิด และแสดงความคิดเห็น
กำหนดแนวทางให้ผู้เข้าฝึกอบรม ได้นำความรู้ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนตัวเองทั้งด้านความคิด ความรู้สึกและการกระทำ โดยการพัฒนาตัวเอง ด้วยการฝึกฝนจนกลายเป็นธรรมชาติ
การบ้านที่เป็นเป้าหมาย สามารถนำไปจัดทำเป็นโครงการในแง่ส่วนบุคคล และ/หรือ ทีม ที่เหมาะสมตามที่ตัวเองเลือก


ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
พนักงานระดับปฏิบัติการ
หัวหน้างาน
ผู้จัดการ

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม

วิทยากรที่ ได้การรับรองจากสถาบัน สามารถสอนหลักสูตรหมวดนี้ได้

อ. ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์

Executive Coach Leadership and Strategic Development Consultant

อ. วีรพันธ์ เกษสังข์

Strategic and Management Coaching & Consulting / Professional Trainer

รศ.ดร.ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร

กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อ. เอกกร บุญธนะสิน

NLP โค้ช และ เทรนเนอร์

อ. ณัฏฐา วงศ์รัตนพิบูลย์

Coach , ที่ปรึกษา และ วิทยากร ประจำสถาบัน เอ็นเทรนนิ่ง กลุ่มธุรกิจการฝึกอบรมและที่ปรึกษา

อ. ชวน ทองไทยสิน

วิทยากรสถาบันฝึกอบรมเอ็นเทรนนิ่ง

อ. ณัฐพงษ์ สิริกอบกุล

วิทยากรอิสระ ด้านการพัฒนาองค์การ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาผู้นำ

ดร.วันทนา ปทุมอนันต์

ผู้เชี่ยวชาญด้าน จิตวิทยาการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และองค์กร