หลักสูตรฝึกอบรม พี่เลี้ยงทางการพยาบาลในฐานะโค้ช - หลักสูตร 1 วัน
(Nurse Mentor as Coach)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม พี่เลี้ยงทางการพยาบาลในฐานะโค้ช (Nurse Mentor as Coach)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
   ในกระบวนการพัฒนาบุคลากรในตำแหน่งพยาบาลนั้น พี่เลี้ยงทางการพยาบาลเป็นบุคคลสำคัญ เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและได้รับความไว้วางใจจากพยาบาลน้องใหม่มากที่สุด พี่เลี้ยงทางการพยาบาลจึงมีบทบาทเป็นทั้งผู้ทำหน้าที่สอน ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน ช่วยเหลือเป็นแบบอย่างในการพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล
   แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่าเกิดปัญหาบางประการขึ้น เช่น ปัญหาด้านความสัมพันธ์อันเนื่องมาจากการขาดทักษะในวิธีการสอน และการสื่อสารของพยาบาลพี่เลี้ยง หรือการขาดความมั่นใจของน้องพยาบาล เนื่องจากน้องพยาบาลไม่สามารถปฏิบัติตามวิธีการที่พี่สอนให้ได้หรืออาจไม่เห็นด้วยในบางเรื่อง 
   สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบพี่เลี้ยงไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาบุคคล ด้วยความหวังดีของพี่เลี้ยงยิ่งพี่เลี้ยงมีความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในงานที่ทำมากเพียงใด ก็ยิ่งอยากให้น้องทำได้เหมือนกับตนเอง โดยอาจจะเผลอลืมไปว่าน้องเองนั้นมีความรู้ ความเชื่อ และประสบการณ์ที่แตกต่างกับตนเอง ทำให้ไม่สามารถใช้วิธีการของพี่เลี้ยงได้ทันที หรือใช้แล้วก็ได้ผลลัพธ์ไม่ตรงกับที่คาดหวังไว้พี่เลี้ยงเองก็ผิดหวังในตัวน้อง น้องพยาบาลเองก็ขาดความมั่นใจ ทำให้เกิดอารมณ์เชิงลบต่อกัน และอาจมีการสื่อสารในเชิงลบตามมา ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันในที่สุด
   กระบวนการโค้ชเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่จะทำให้พี่เลี้ยงเข้าใจเรื่องวงจรพฤติกรรมที่ต่างกันของน้องพยาบาลแต่ละคนพี่เลี้ยง สามารถเลือกมองเห็นคุณค่ามองเห็นศักยภาพของน้อง มากกว่าการต้องคอยแก้ไขจุดด้อยของน้อง และมีวิธีการดึงศักยภาพของน้องพยาบาลมาใช้ในการทำงานให้มากขึ้น เพราะกระบวนการโค้ชจะช่วยให้น้องพยาบาลถูกกระตุ้นให้ฝึกคิดตั้งเป้าหมาย และค้นหาหาวิธีการไปถึงเป้าหมาย โดยใช้สิ่งที่เป็นศักยภาพของตนเอง เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่ใช้คุณค่าของตนเอง โดยยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานขององค์กร ผลลัพธ์ที่ได้จากการโค้ชจะทำให้น้องพยาบาล ได้พัฒนาความรู้ทักษะตามแนวที่เหมาะสมกับตนเองมีความภาคภูมิใจ และมั่นใจในศักยภาพของตนเองทำให้เกิดความสุขในการทำงาน รวมทั้งรู้สึกว่าพี่เลี้ยงเข้าใจและเอาใจใส่ตนเองอย่างแท้จริง 
   พี่เลี้ยงเองก็จะเกิดความภูมิใจในการช่วยเหลือและพัฒนาผู้อื่น ได้ความเคารพนับถือจากน้อง ๆ ได้เตรียมพัฒนาคนที่จะขึ้นมาแทนที่ตนเอง การที่น้องได้ใช้ศักยภาพของตนเองบ่อยขึ้น จะทำให้เขาได้ฝึกการคิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ไม่ต้องรบกวนพี่เลี้ยงเวลาเกิดปัญหาทุกๆ ครั้ง สุดท้ายพี่เลี้ยงจึงมีเวลาในการปฏิบัติงานสำคัญอื่นๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงมีเวลาในการพัฒนาตนเองมากขึ้นด้วย เช่นกัน
   ขณะที่องค์กรเองจะมีบุคลากรทดแทนตำแหน่งกันได้อย่างต่อเนื่อง และเมื่อปัญหาความขัดแย้ง หรือการสื่อสารเชิงลบในการทำงานเป็นทีม ลดลงจนถึงไม่มีเลย ส่งผลให้บุคลากรมีความสุขและความผูกพันกับองค์กรมากขึ้น องค์กรจึงมีการเติบโตได้อย่างมั่นคง

วัตถุประสงค์
 เพื่อให้หัวหน้าการพยาบาลในบทบาทของพี่เลี้ยง สามารถเป็นผู้สอนงานให้น้องพยาบาลในเรื่องของการทำงาน และเป็นที่ปรึกษาในเรื่องส่วนตัว โดยใช้หลักการโค้ชได้อย่างถูกต้องและมั่นใจ

กรอบความคิดของหลักสูตร
 พี่เลี้ยงทางการพยาบาลในฐานะโค้ช
 
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 ช่วงที่ 1 สำรวจแนวความคิดในฐานะพี่เลี้ยงทางการพยาบาล
        สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพี่เลี้ยงทางการพยาบาล
        ค้นหาหลุมพรางทางความคิดในฐานะพี่เลี้ยง
        ปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อหาวิธีเอาชนะหลุมพรางทางความคิด 
 ช่วงที่ 2 ธรรมชาติของการเรียนรู้และแนวทางในการพัฒนา
        ธรรมชาติของสมองในการเรียนรู้และการโค้ช 
        เครื่องมือต่างๆ สำหรับพี่เลี้ยงทางการพยาบาล (TAPS Model) 
        การเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนากับน้องแต่ละประเภท การทำ

 ช่วงที่ 3 เทคนิคการพัฒนาบุคลากรด้วยเครื่องมือโค้ช
        กรอบความคิดของโค้ช (Coaching Mindset) 
        องค์ประกอบของกระบวนการโค้ช (Coaching Process)
        เทคนิคการโค้ช (Coaching Skill)
        เครื่องมือสำหรับการโค้ช (Coaching Tool) 

 ช่วงที่ 4 การประยุกต์ใช้การโค้ชในฐานะพี่เลี้ยงทางการพยาบาล
        แนวทางการพัฒนาน้องพยาบาลด้วยทักษะการโค้ช 
        กรณีศึกษาและการนำไปปรับใช้ 
        แรงจูงใจสู่การเป็นพี่เลี้ยงทางการพยาบาลในฐานะโค้ชที่ดี


แนวทางการฝึกอบรม
Adult Learning การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองให้ความสนใจ ตรงกับพื้นฐานความเชื่อของตนเอง ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสามารถเลือกแนวทางที่ต้องการกลับไปใช้ได้จริง 
 Brain Base Learningเข้าใจกระบวนการทำงานและการเรียนรู้ของสมองสร้าง สภาวะเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสมองของผู้เรียน หลีกเลี่ยงสภาวะที่ผู้เรียนจะเข้าสู่สภาวะปกป้องซึ่งจะปิดกั้นการเรียนรู้ของผู้เรียน 
 Training and Group Coaching การฝึกอบรมจะส่งมอบทั้งส่วนที่เป็นเนื้อหา หลักการ แนวความคิดเพื่อเป็นข้อมูลและทางเลือกสำหรับผู้เข้าอบรมเท่านั้น จากนั้นจะดำเนินกระบวนการโค้ช เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมองเห็นสิ่งที่ตนเองต้องเปลี่ยนแปลง ต้องพัฒนา เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตนเองต้องการ ด้วยตัวผู้เข้าอบรมเอง

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
พี่เลี้ยงทางการพยาบาล 
บุคลากรที่สนใจในกระบวนการโค้ช

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สิ่งที่ต้องการพัฒนา
 ระดับตนเอง
ระดับตนเองสำหรับพี่เลี้ยงทางการพยาบาล การนำกระบวนการโค้ชมาใช้กับงานสอน และการพัฒนา แรงจูงใจบนบทบาทของพี่เลี้ยงทางการพยาบาล
 ระดับเพื่อนร่วมงาน 
ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้าคิดและตัดสินใจ ทัศนคติในการทำงานเชิงบวก
 ระดับองค์กร 
แรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันกับองค์กร


เป้าหมายหลังการอบรม
 ระดับตนเอง 
เห็นศักยภาพของตนเอง และน้องพยาบาลเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน มีกระบวนการโค้ช เป็นทางเลือกในการพัฒนาน้องพยาบาล มากขึ้น มีความสุขและความภูมิใจกับการได้พัฒนาผู้อื่น
 ระดับเพื่อนร่วมงาน 
มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานขององค์กร เกิดความรู้สึกว่าได้รับการดูแลเอาใจใส่ และรับฟังปัญหาจากพี่เลี้ยงอย่างแท้จริง สามารถเอาชนะอารมณ์เชิงลบ ในการทำงานได้ด้วยวิธีการของตนเอง
 ระดับองค์กร 
มองเห็นประโยชน์และความภูมิใจ ในงานที่ทำมากกว่าปัจจัยภายนอก มีความสุขจากสัมพันธภาพที่ดีต่อกันมากขึ้น ระหว่างพี่เลี้ยงกับน้องพยาบาล


ตัวอย่างเนื้อหาในหลักสูตร
พี่เลี้ยงทางการพยาบาลในฐานะโค้ช

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม