หลักสูตรฝึกอบรม ระบบป้องกันความผิดพลาดในกระบวนการผลิต Poka Yoke - หลักสูตร 1 วัน
(Poka Yoke)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม ระบบป้องกันความผิดพลาดในกระบวนการผลิต Poka Yoke (Poka Yoke)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

สภาพปัญหาที่พบ
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในกระบวนการผลิต จะเป็นลักษณะการใช้แรงงานคนป้อนวัตถุดิบให้เครื่องจักรทำงาน (กึ่งอัตโนมัติ) ดังนั้นในกระบวนการผลิตจะมีโอกาสเกิดความผิดพลาดจากแรงงานคนเป็นอย่างแน่นอน (Human Error) นอกเหนือไปจากความผิดพลาด ที่อาจจะเกิดจากเครื่องจักร วัตถุดิบ หรือไม่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งที่กล่าวมาก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคนเช่นเดียวกัน ดังนั้นการสร้างระบบความป้องกันความผิดพลาดก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากแรงงานคน



ระบบป้องกันความผิดพลาด [POKAYOKE]
POKAYOKE หรือ โพะกะโยะเกะ เป็นแนวความคิดที่มีการออกแบบป้องกันความผิดพลาด ถ้าในภาษาอังกฤษจะใช้แนวคววามคิดคำว่า Fools Proof, Fail Safe ซึ่งแปลง่าย ๆ คือ การป้องกันความผิดพลาดจากการพลั้งเผลอ หรือ ปลอดภัยแม้ขัดข้อง แนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบ โพะกะโยะเกะ (Poka Yoke) จะเป็นลักษณะแก้ไขแบบกำจัดปัญหาให้ไม่ย้อนกลับมาเกิดซ้ำได้อีก

จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า การออกแบบปลั๊กเสียบช่องต่าง ๆ ในสถานพยาบาลจะแยกที่ตัวเสียบและตัวรับให้เป็นคุณลักษณะพิเศษ ถึงแม้ว่าคนไปเสียบช่องผิดก็ไม่สามารถเสียบได้ หรือเช่นถ้าคนไม่รู้เรื่องสำหรับการเสียบปลั๊กเลย ก็ยังสามารถสียบช่องได้อย่างถูกต้องเช่นกัน การปรับปรุงในรูปแบบดังกล่าง จะถูกเรียกว่าเป็นการปรับปรุงในรูปแบบโพะกะโยะเกะ (Poka Yoke)

การวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการป้องกัน
การวิเคราะห์หาแนวทางการป้องกัน จะมีทั้ง 2 แบบ คือ การใช้แนวความคิดการปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม (Kaizen) ซึ่งการใช้รูปแบบนี้จะสามารถคิดโดยคนเดียวได้ เป็นลักษณะการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองหรือในพื้นที่หน้างานของตนเอง ไม่มีความซับซ้อนของงานมากนั้น แต่ถ้าเป็นลักษณะงานที่มีความซับซ้อนหรือ เป็นลักษณะงานที่ทำงานร่วมกัน การวิเคราะห์ในรูปแบบนี้จำเป็นที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและความมีส่วนร่วมของหลายแผนก เช่น แผนกผลิต , วิศวกรรม และควบคุมคุณภาพ เป็น ซึ่งการวิเคราะห์ในรูปแบบนี้ อาจใช้ Tools ที่เรียกว่า How How chart ซึ่งมีหลายรูปแบบที่สามารถปรับปรุงในรูปแบบ Poka Yoke ได้


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจถึงกิจกรรมการแก้ไขปัญหาในรูปแบบ ระบบป้องกันความผิดพลาด (Poka Yoke)
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าจถึงความหลากหลายของการปรับปรุงในลักษณะป้องกันความผิดพลาด (Poka Yoke)
3. เพื่อพัฒนาทักษะพนักงานให้เป็นนักคิด นักวิเคราะห์และทำกิจกรรมกลุ่มย่อยร่วมกันได้

กลุ่มเป้าหมาย
ผู้บริหาร
ผู้จัดการ
หัวหน้างาน
พนักงานปฏิบัติการ

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
Poka Yoke คืออะไร
วัตถุประสงค์ (Objective) ของการปรับปรุงในรูปแบบ Poka Yoke
กิจกรรมเชื่อมโยงกับกับ Poka Yoke
ตัวอย่างแต่ละหมวดการปรับปรุงแบบ Poka Yoke
การใช้ How How Chart วิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุง
กิจกรรม KYT (Kiken Yoshi Training)
บทเรียนเฉพาะจุด (One point Lesson) สำหรับสอนงาน
กิจกรรม Workshop 2-3 กลุ่ม (How How Chart)
Q&A
Post Test


แนวทางการฝึกอบรม
บรรยาย 70% Workshop 30%
ดำเนินกิจกรรมกลุ่มโดยใช้ชุด workshop ที่ ทางสถาบันจัดเตรียมและฐานข้อมูลจริง ที่องค์กรจัดเตรียมไว้

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม