หลักสูตรฝึกอบรม สร้างจิตสำนึกแห่งคุณภาพเพื่อองค์กรเติบโตยั่งยืน - หลักสูตร 1 วัน
(Quality Awareness for Organization Sustainable Growth)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / Softskill / หลักสูตรฝึกอบรม สร้างจิตสำนึกแห่งคุณภาพเพื่อองค์กรเติบโตยั่งยืน (Quality Awareness for Organization Sustainable Growth)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
“ งานก็เร่ง แต่จะเอาคุณภาพร้อยเปอร์เซ็นต์.....ใครจะทำได้ !!!!!”
“ ลูกค้าต้องการของด่วน....ล๊อตนี้ขอผ่านก่อนนะครับ”
“ ตั้งใจมากเกินไปก็เท่านั้น...ไม่เห็นเราจะได้ประโยชน์อะไรเลย”


พฤติกรรมหรือคำพูดที่พนักงานแต่ละคนแสดงออกมา เกิดจากกรอบความคิด(Mindset) ที่เขามีต่อเรื่องนั้นๆ ซึ่งกรอบความคิดมาจาก ความเชื่อ ค่านิยม ประสบการณ์ ที่สะสมมาจากอดีตของแต่ละบุคคล ดังนั้น การพัฒนาพนักงานโดยให้ความรู้ หรือเทคนิคต่างๆ อาจจะไม่เพียงพอที่จะช่วยให้พนักงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างยั่งยืน ถ้าพนักงานยังคงใช้กรอบความคิดแบบเดิม 
พนักงานที่มีจิตสำนึกแห่งคุณภาพสามารถสังเกตได้จากคำพูด หรือพฤติกรรมที่เขาแสดงออกต่อเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะสภาวะที่เป็นเชิงลบเช่น สถานการณ์เร่งรีบ , มีข้อจำกัดต่างๆในการทำงาน แต่พนักงานคนนั้นๆยังคงปฏิบัติงานโดยยึดถือเรื่องคุณภาพเป็นสำคัญ ดังนั้นการพัฒนาพนักงานให้มีจิตสำนึกแห่งคุณภาพ ควรค้นหาว่าสถานการณ์หรือสภาวะใดที่พนักงานละเลย การใช้จิตสำนึกแห่งคุณภาพกับงานที่กำลังรับผิดชอบอยู่ แล้วช่วยให้เขามองเห็นหลุมพรางหรือความคิดเชิงลบที่มีต่อสถานการณ์ เพื่อให้เขาปรับเปลี่ยนความคิดใหม่เพื่อหยิบความรู้หรือทักษะที่มีอยู่ ออกมาใช้ในการปฏิบัติงานตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ 
การสร้างจิตสำนึกแห่งคุณภาพต้องทำให้เขาเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงานที่รับผิดชอบ โดยมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ต่างๆ ที่เขขาและผู้อื่นจะได้รับจากงานนี้ ทำให้เกิดความรับผิดชอบต่องานและมุ่งมั่นที่จะให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด 
การแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า และบริการมากกว่าโปรโมชั่นการขายหรือการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากเป็นส่วนที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าที่จะกลับมาซื้อ – ใช้บริการซ้ำ หรือเปลี่ยนใจไปใช้สินค้าหรือบริการของคู่แข่งขันแทน ซึ่งการพัฒนาบุคลากรให้มีจิตสำนึกแห่งคุณภาพในการทำงานมีต้นทุนในการพัฒนาที่ต่ำกว่ากลยุทธ์อื่น และยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนต่อองค์กรอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนได้แนวทาง, หลักการและความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนากรอบความคิดของตัวเอง
เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงตัวเองในเรื่องต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสำคัญของคุณภาพในงาน องค์ประกอบ และผลกระทบจากการทำงานด้วยจิตสำนึกแห่งคุณภาพ
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการของเครื่องมือบริหารคุณภาพและนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะที่สำคัญของผู้ที่ทำงานด้วยจิตสำนึกแห่งคุณภาพ
เพื่อให้ผู้เรียนมีกรอบความคิดแบบเจ้าของงาน(Ownership Mindset) และเกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement Process)
เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นตัวเองชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพและนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติได้อย่างมั่นใจ

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 PART 1 : สำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับคุณภาพและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
       คุณรู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์เหล่านี้ ?? 
           - ทำงานที่เร่งด่วนให้แล้วเสร็จตามกำหนด
           - ต้องแก้ไขงานใหม่(Rework)อีกครั้ง 
           - ต้องทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด 
       คุณรู้สึกอย่างไรกับงานที่ได้รับผิดชอบ ?? 
       นิยามคำว่า ”คุณภาพ” ในความหมายของคุณคือ … ?? 
       คุณให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพในการทำงานมากแค่ไหน ?? 
       คุณจะทำอย่างไรบ้างเพื่อให้งานมีคุณภาพตามข้อกำหนดหรือมาตรฐาน ?? 
       สินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพเกิดประโยชน์อย่างไรต่อตัวคุณ องค์กรของคุณ และลูกค้าของคุณ
       Workshop : ประเมินระดับจิตสำนึกแห่งคุณภาพของตัวเอง

 PART 2 : สร้างจิตสำนึกแห่งการทำงานอย่างมีคุณภาพ 
       หลุมพรางทางความคิดเชิงลบของการทำงานอย่างมีคุณภาพ 
       สาเหตุของความคิดเชิงลบในการทำงานที่ละเลยคำว่า”คุณภาพ” 
       ปรับเปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset) ต่อการทำงานใหม่ของตัวเอง 
       นิยามของคุณภาพและการทำงานที่มีคุณภาพ 
       มิติต่างๆและองค์ประกอบของคำว่า ”คุณภาพ” 
       พนักงานที่ทำงานแบบทั่วไปแตกต่างจากพนักงานที่มีจิตสำนึกแห่งคุณภาพอย่างไร ?? 
       ค่านิยมส่วนบุคคล (Personal Value) ก่อให้เกิดคุณภาพในงานได้อย่างไร ?? 
       สร้างจิตสำนึกแห่งคุณภาพให้กลายเป็นพฤติกรรมใหม่ของตัวเอง 
       Workshop : การปรับเปลี่ยนแนวความคิดต่อการทำงานอย่างมีคุณภาพ

 PART 3 : คุณภาพสำคัญต่อพนักงานและองค์กรอย่างไร?
       ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อคุณภาพของงาน 
       ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบด้านต่างๆจากการมีและขาดจิตสำนึกแห่งคุณภาพของพนักงาน
           - ผลกระทบด้านตัวพนักงาน
           - ผลกระทบด้านองค์กร 
           - ผลกระทบด้านลูกค้าทั้งภายในและภายนอก 
       กรณีศึกษา : การปรับเปลี่ยนกรอบความคิดกับสถานการณ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกแห่งคุณภาพในการทำงาน
 PART 4 : พัฒนาทักษะการทำงานเพื่อเพิ่มคุณภาพ 
       การเข้าใจตัวเองและการจัดการอารมณ์เชิงลบ 
       การบริหารเวลาของตัวเอง 
       การสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธ์ต่อผู้เกี่ยวข้องในงาน 
       ทักษะการใช้เครื่องมือบริหารคุณภาพในงาน
           - การใช้คำถาม Why – Why 
           - การใช้ Check Sheet
           - หลักการพาเรโต 
           - แผนผังวิเคราะห์เหตุและผล
           - วงจรปรับปรุงงาน PDCA 
       กรณีศึกษา : ประยุกต์ใช้ทักษะกับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดคุณภาพในงาน
 PART 5 : พัฒนากรอบความคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อองค์เติบโตอย่างยั่งยืน 
       แนวความคิดในการทำงานเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มจิตสำนึกแห่งคุณภาพ 
       ประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 
       Continuous Improvement Process เพื่อเพิ่มคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 
       สร้างจิตสำนึกรักองค์กรด้วยคำถามสร้างพลัง 
       สร้างทัศนคติเชิงบวกต่อองค์กรและงานที่รับผิดชอบ 
       Workshop : เป้าหมายการพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพของตัวเอง


แนวทางการฝึกอบรม [Training and Group Coaching]
 การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ในทันที ด้วยแนวทางของตัวเอง
 การฝึกอบรมมีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ คิดถึงสถานการณ์ การทำงานของตัวเอง
       การบรรยาย : เน้นเนื้อหาที่ใกล้ตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
       Work Shop : กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
       การนำเสนอ : เกิดการฝึกฝนการแสดงออกและทำงานเป็นทีม
       Role Playing : ทำให้เห็นสถานการณ์จริง โดยการแสดงแบบสมมติ
       การตอบคำถาม : จูงใจให้ผู้ฝึกอบรมได้คิด และแสดงความคิดเห็น
       การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
 วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้นๆ โดยการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยตัวเอง

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
 หัวหน้างานทุกระดับ
ผู้จัดการ 
Staff / พนักงานระดับปฏิบัติการ

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม