หลักสูตรฝึกอบรม เทคนิคการบริหารข้อมูลและการพัฒนาเพื่อลดค่าใช้จ่าย - หลักสูตร 1 วัน
(Data Management & Improvement For Cost Down)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / Management and Productivity / หลักสูตรฝึกอบรม เทคนิคการบริหารข้อมูลและการพัฒนาเพื่อลดค่าใช้จ่าย (Data Management & Improvement For Cost Down)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
 โลกของการแข่งขันในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบวนการทำงานของทุกระดับในองค์กรมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังต้องแข่งขันกับเวลา ทำให้รูปแบบหรือกระบวนการทำงานเดิมขององค์กรอาจไม่เพียงพอที่จะเติบโตหรือแม้กระทั่ง รักษาขีดความสสามารถทางการแข่งขันที่มีอยู่เดิมไว้ได้
 หลักการการบริหารข้อมูลด้วยข้อเท็จจริง (Management by Fact) เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง เพราะข้อมูลที่เป็นจริงจะทำให้วิธีการทำงานสอดคล้องและเหมาะสมกับเป้าหมายที่ต้องการบรรลุผลสำเร็จ อีกทั้งการแก้ปัญหาและการตัดสินใจถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ดังนั้นถ้าหากทีมงานทุกคนใช้หลักการบริหารข้อมูลด้วยข้อเท็จจริง ก็จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยลง บรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น
 การบริหารงานในปัจจุบันให้ความสำคัญกับข้อมูล เพราะระบบเทคโนโลยี่และสารสนเทศมีความพร้อมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ทุกองค์กรมีข้อมูลที่มากมายแต่การนำข้อมูลต่างๆ มาใช้นั้นยังอยู่ในช่วงที่ใช้ประโยชน์น้อยมาก การมุ่งเน้นพัฒนาให้หัวหน้างานมีทักษะในการใช้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินข้อมูลตามความเป็นจริง ย่อมทำให้การบริหารงานของหัวหน้างานเกิดประสิทธิผลสูงขึ้น
 การบริหารข้อมูลด้วยข้อเท็จจริง มุ่งเน้นกระบวนการทำงานที่พร้อมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางดังนี้
       การให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง (Input)
       การวิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่มีอยู่อย่างครบถ้วนรอบด้าน (Analysis)
       การนำข้อมูลที่มีประโยชน์และถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์มาพิจารณา
       การกำหนดกลยุทธ์การทำงานตามความเป็นจริง
       การนำเสนอข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบตามจริง
       การสร้างมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลและการเลือกใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง
 ไคเซ็น (KAIZEN) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้นหรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อลดต้นทุน ลดค่าใช่จ่ายในการดำเนินงาน ..... เป็นแนวทางปฏิบัติที่ไม่ได้ทำจบในครั้งเดียว แต่หมายถึงการทำอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักการคือ
       กำหนดเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน
       ค้นหาความสูญเปล่าในขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน
       วิเคราะห์สาเหตุและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขจนกระทั่งบรรลุเป้าหมาย
       กำหนดเป้าหมายที่สูงขึ้นแล้วดำเนินการตามขั้นตอนปรับปรุงใหม่อีกครั้ง
       ปฏิบัติตามวงจรนี้อย่างต่อเนื่อง
 ปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นในการทำงานทำให้เกิดความสูญเสียซึ่งส่งผลกระทบกับผลผลิต ต้นทุน รวมทั้งอาจกระทบกับการดำเนินงานในส่วนอื่นๆ ซึ่งความสูญเสียบางประการเป็นสิ่งที่เราอาจป้องกันได้ ถ้าเข้าใจกระบวนการและวิเคราะห์ได้ถึงที่แหล่งที่มารวมทั้งกระบวนการที่ทำให้เกิดความสูญเสียนั้นๆ หลักการ ความสูญเสีย 7 ประการ(7 Waste) จะช่วยให้เราเข้าใจและมองได้เห็นถึงความเสี่ยงต่างๆในกระบวนการทำงานที่มีโอกาสทำให้เกิดความสูญเสียตามมา และการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากร (6M : Man Machine Materials Money Method Management ) จะช่วยให้เราป้องกันหรือหาแนวทางแก้ไขได้อย่างตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น
 KAIZEN เพื่อลดต้นทุนมีเทคนิคและเครื่องมือมากมายที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานได้ เช่น P-D-C-A , Why-Why , ผังก้างปลา เป็นต้น ..... ดังนั้นผู้ที่นำหลักไคเซ็นไปประยุกต์ใช้ควรมีทั้งความรู้ ทักษะที่เกี่ยวข้องและกรอบความคิดที่ดีของการเป็นผู้พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

วัตถุประสงค์
 เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการการบริหารในประเภทต่างๆ กับการบริหารข้อมูลด้วยข้อเท็จจริงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ของตัวเองได้จริง
 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจทักษะที่สำคัญ กระบวนการที่เหมาะสมและเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการบริหารข้อมูลด้วยข้อเท็จจริงได้ด้วยตัวเอง
เพื่อทำให้ผู้เรียนสร้างแนวความคิดการบริหารงานของตัวเองด้วย Style ตัวเองได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ได้ทันที
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและหลักการของไคเซ็น(Kaizen) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
 เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจและมองเห็นภาพของความสูญเปล่าและการทำงานที่เพิ่มคุณค่าได้ชัดเจนขึ้น
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการทำงานที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า 7 ประเภท พร้อมทั้งค้นหาสาเหตุที่ที่เกิดจากการบริหารจัดการทรัพยากร 6M ที่มีอยู่
 เพื่อให้ผู้เรียนได้นำเทคนิคและเครื่องมือต่างๆ มาปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
PART 1 : การเรียนรู้และเข้าใจหลักการบริหารด้วยข้อเท็จจริง (Management by Fact)
       สำรวจแนวความคิดการบริหารงานข้อมูลปัจจุบัน
       หลักการบริหารงานข้อมูลด้วยจุดประสงค์ต่างๆ
       แก่นสำคัญของการบริหารข้อมูลด้วยข้อเท็จจริง
       ลักษณะการบริหารข้อมูลอย่างมีประสิทธิผล
       Workshop:การกำหนดแนวทางการบริหารข้อมูลของตัวเอง
PART 2 : ทักษะการบริหารข้อมูลด้วยข้อเท็จจริง
       การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
       การคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking)
       การคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking)
       การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
       การทำงานเชิงรุก (Proactive Working)
       Workshop:การพัฒนาทักษะการบริหารข้อมูลของตัวเอง
PART 3 : กระบวนการการบริหารงานอย่างเป็นระบบ
       หลักการบริหารงานอย่างเป็นระบบ
       ขั้นตอนการบริหารงานอย่างเป็นระบบ
       เทคนิคการบริหารงานอย่างเป็นระบบ
       การสร้างมาตรฐานการบริหารงานอย่างเป็นระบบ
       Workshop:สร้างกระบวนการการบริหารงานอย่างเป็นระบบของตัวเอง
PART 4 : พัฒนาทักษะของการทำงานเพื่อลดต้นทุนด้วยเทคนิคต่างๆ
       ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฏจักรและรูปแบบของความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากการทำงาน
       เทคนิคการมองเห็นปัญหาและความสูญเปล่าที่ส่งผลกับต้นทุน
       การวิเคราะห์สาเหตุด้วยผังก้างปลา
       การใช้คำถาม 5 Whys
       เทคนิคปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย P-D-C-A
       การนำเสนอโครงการลดต้นทุนอย่างง่ายด้วย1 Page Summary
       Workshop : นำเทคนิคมาสร้างโครงการลดต้นทุนของตนเอง



แนวทางการฝึกอบรม [Training and Group Coaching]
 การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ในทันที ด้วยแนวทางของตัวเอง
การฝึกอบรมมีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ คิดถึงสถานการณ์ การทำงานของตัวเอง 
       การบรรยาย : เน้นเนื้อหาที่ใกล้ตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
       Work Shop : กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
       การนำเสนอ : เกิดการฝึกฝนการแสดงออกและทำงานเป็นทีม
       Role Playing : ทำให้เห็นสถานการณ์จริง โดยการแสดงแบบสมมติ 
       การตอบคำถาม : จูงใจให้ผู้ฝึกอบรมได้คิด และแสดงความคิดเห็น 
       การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง 
วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้นๆ โดยการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยตัวเอง

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
 ผู้จัดการ / หัวหน้างานทุกระดับ
 Line Leader
 Staff / พนักงานระดับปฏิบัติการ

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม