หลักสูตรฝึกอบรม เทคนิคการเขียน Mind Map เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน - หลักสูตร 1 วัน
(High Performance Working by Mind Map Technique)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม เทคนิคการเขียน Mind Map เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (High Performance Working by Mind Map Technique)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
          แผนที่ความคิด (Mind Map) เป็นแผนผัง ใช้เพื่อแสดงคำหรือแนวความคิดของมนุษย์ที่เชื่อมโยง ความคิดต่าง ๆ จากจุดศูนย์กลางเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย ที่สัมพันธ์กัน ส่วนการการพัฒนาประสิทธิภาพ การทำงาน คือ การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ความสามารถ และทักษะในการทำงานให้ดีขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ประสิทธิภาพเป็นการใช้ปัจจัยและกระบวนการ ในการดำเนินงาน โดยแบ่งประเภทของประสิทธิภาพ การทำงานได้ 2 ระดับคือ
        1) ประสิทธิภาพของบุคคล
        2) ประสิทธิภาพขององค์กร
        ทั้งนี้ค่าของประสิทธิภาพ การทำงานสามารถแสดงในรูปแบบเชิงตัวเลข หรือรูปแบบ การบันทึกถึงลักษณะการใช้เงิน วัสดุ คน และเวลาในการ ปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่มีการสูญเปล่า เกินความจำเป็น รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์หรือเทคนิควิธี การปฏิบัติที่เหมาะสม แผนที่ความคิดถือเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ช่วยในการจัดระเบียบความคิด ช่วยให้การทำงาน ในด้านต่าง ๆ เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลและ ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร
        Mind Map เป็น เครื่องมือด้านความคิดที่ออกแบบโดยเลียนแบบการทำงานของสมอง ซึ่งเป็นการแสดงผลของ “ภาษาของสมอง” เป็นวิธีเดียวกับที่สมองคิด ใช้ได้ทั้งการนำข้อมูลเข้า (จดบันทึก) และออกจากสมอง (ระดมสมอง แสดงความคิด) ดังนั้นการเข้าใจหลักการทำงานของสมอง รวมทั้งการคิดอย่างเป็นระบบ เมื่อนำมาประยุกต์เข้ากับเครื่องมือ Mind Map ทำให้เกิดเครื่องมือที่ง่ายและสะดวกต่อการแปลความคิดที่อยู่ในสมองออกมาเป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นและเข้าใจได้ง่ายขึ้น
        การเขียน Mind Map เพื่อประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพผู้เขียนควรเข้าใจหลักการคิดต่างๆที่เกี่ยวข้องได้แก่
        การคิดเชิงตรรกะ เพื่อสร้างมุมมองที่เป็นเชิงเหตุผล เกี่ยวข้อง เชื่อมโยง
        การคิดเชิงสร้างสรรค์   เพื่อสร้างความหลากหลายทางความคิด
        การคิดเชิงวิเคราะห์   เพื่อมีมุมมองแบบแยกองค์ประกอบ
        การคิดเชิงกลยุทธ์  เพื่อมีมุมมองเชิงทางเลือก และ จัดลำดับความสำคัญ
        หากผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนาทักษะการคิดด้านต่างๆ และการเขียนแผนภาพความคิดด้วย Mind Map จะช่วยเพิ่มทักษะการสื่อสาร การนำเสนอ การวางแผนทรัพยากร การแก้ปัญหาและการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการและวิธีการเขียน Mind Map
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาทักษะและกระบวนการคิดแบบองค์รวม การคิดแบบบูรณการ และการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการคิดและการถ่ายทอดโดยใช้ Mind Map
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจหลักการทำงานทั่วไปของสมองที่นำไปสู่กระบวนการคิด
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการระดมสมอง ที่จะทำให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์ และการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน จะนำไปพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน ด้วย Mind Map
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำเทคนิค เครื่องมือที่ได้เรียนรู้จาก Mind Mapไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
Module 1 เรียนรู้และเข้าใจหลักการทำงานของสมองและการคิดประเภทต่างๆ
สำรวจแนวความคิดด้านทักษะการคิดของตัวเอง
หลักการสำคัญของการเป็นนักคิด
เข้าใจการทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการคิด
ครบเครื่องเรื่องทักษะการคิด 5 แบบเพื่อจัดการปัญหาอย่างเป็นระบบ
       การคิดเชิงแก้ปัญหา (Problem Thinking)
       การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytic Thinking)
       การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creativity Thinking)
       การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
       การคิดเชิงบูรณการ (Integrated Thinking)
Workshop : กิจกรรมพัฒนาทักษะการคิด

Module 2 หลักการพื้นฐานของการเขียน Mind Map
Mind Map คืออะไร
เหตุใดจึงควรใช้ Mind Map
การเขียน Mind Map ควรมีหลักคิดอย่างไร
หลักการเขียน Mind Map ได้อย่างมั่นใจ
ตัวอย่างการเขียน Mind Map ในการทำงานและการดำเนินชีวิตทั่วไป
ถอดบทเรียนตัวอย่างMind Map เพื่อเข้าใจหลักการเขียนเชิงลึก
Workshop : สร้าง Mind Map ในสไตล์ของตัวเองพร้อมทั้งฝึกถอดบทเรียนการคิดที่ใช้เขียน

Module 3 ประยุกต์ใช้ Mind Map กับการทำงาน
Mind Map กับการวางแผนเพื่อพิชิตเป้าหมาย
Mind Map กับการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
Mind Map กับการนำเสนอแนวคิด
Mind Map กับการวางผังบุคลากร
Mind Map กับการสอนงานและมอบหมายงาน
Workshop : ประยุกต์ใช้ Mind Map กับการการทำงานจริง

Module 4 ประยุกต์ใช้ Mind Map กับการใช้ในชีวิตประจำวัน
Mind Map กับการสร้างสมดุลชีวิต
Mind Map กับการช่วยในการจัดระเบียบความคิด ให้สามารถคิดได้ทั้งแบบ คิดกว้าง และคิดลึก – คิดกว้าง คือ คิดออกไปรอบ ๆ ด้าน ไม่เกี่ยวข้องกัน คนละประเด็น คนละเรื่อง
Mind Map กับช่วยในการจับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญนำมาสื่อสารให้ผู้อื่นสามารถจับต้อง เข้าใจ และช่วยเหลือได้
Mind Map กับการช่วยในการจัดลำดับความสำคัญก่อน หลัง อะไรเป็นเรื่องหลักและอะไรเป็นเรื่องที่แตกย่อยสามารถทำความเข้าใจได้โดยง่าย

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการและวิธีการเขียน Mind Map
2. ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาทักษะและกระบวนการคิดแบบองค์รวม การคิดแบบบูรณการ และการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการคิดและการถ่ายทอดโดยใช้ Mind Map
3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจหลักการทำงานทั่วไปของสมองที่นำไปสู่กระบวนการคิด
4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการระดมสมอง ที่จะทำให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์ และการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน จะนำไปพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน ด้วย Mind Map
5. ผู้เข้าอบรมสามารถนำเทคนิค เครื่องมือที่ได้เรียนรู้จาก Mind Mapไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
1. การบรรยาย 30 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 70%

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม