หลักสูตรฝึกอบรม ทักษะการบริหารโครงการสำหรับผู้รับผิดชอบงานโครงการระดับบริหาร - หลักสูตร 1 วัน
(Project Management skill Development)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / Management and Productivity / หลักสูตรฝึกอบรม ทักษะการบริหารโครงการสำหรับผู้รับผิดชอบงานโครงการระดับบริหาร (Project Management skill Development)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
การที่องค์กรหนึ่งๆจะทำโครงการใดโครงการหนึ่ง ผู้บริหารองค์กรย่อมมุ่งหวังให้โครงการนั้นดำเนินการจนแล้วเสร็จและบรรลุเป้าหมายภายใต้ข้อกำหนดทางด้าน งบประมาณ ทรัพยากร ระยะเวลา และมาตรฐาน ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งในโครงการหนึ่งๆ มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งฝ่ายที่มีหน้าที่ดำเนินและผลักดันโครงการ และฝ่ายที่มีหน้าที่สนับสนุนส่วนต่างๆของโครงการ ดังนั้นโครงการจึงต้องมีผู้บริหารที่มีความสามารถและมีคุณลักษณะที่เหมาะสม โครงการนั้นๆจึงจะมีโอกาสประสบผลสำเร็จตามที่ผู้บริหารองค์กรตั้งเป้าหมายไว้
โครงการทุกโครงการต่างมีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ ทรัพยากร ระยะเวลารวมถึงมาตรฐาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารแต่ละองค์กรตั้งเป้าหมายไว้ แต่ในความเป็นจริงการดำเนินงานในแต่ละช่วงเวลาของโครงการย่อมมีโอกาสเจออุปสรรคและปัญหาทั้งที่คาดการณ์ไว้และที่ไม่ได้คาดการณ์ ดังนั้นถ้าผู้บริหารโครงการไม่มีทักษะและเครื่องมือเตรียมพร้อมไว้สำหรับรับมือ โครงการนั้นก็มีโอกาสที่จะประสบความล้มเหลวหรือแม้จะดำเนินโครงการจนแล้วเสร็จแต่ก็อาจจะไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดด้านต่างๆที่ผู้บริหารองค์กรตั้งเป้าหมายไว้
ไม่ว่าโครงการที่จะดำเนินการนั้นจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก การพัฒนาทักษะในการบริหารโครงการจะช่วยทำให้ผู้บริหารโครงการสามารถเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานให้แล้วเสร็จ เพราะมีการใช้สมรรถนะ (Competency)/ศักยภาพของผู้ดำเนินการในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทักษะความเป็นผู้นำ, ทักษะการสื่อสาร, การบริหารจัดการ, การแก้ปัญหาและตัดสินใจ และส่งผลต่อการพัฒนาด้านอื่นๆ รวมทั้งการเรียนรู้เครื่องมือต่างๆและนำไปฝึกฝนใช้งานจะช่วยทำให้การบริหารโครงการนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีโอกาสประสบผลสำเร็จตามที่ผู้บริหารตั้งเป้าหมายไว้
นอกจากความรู้และทักษะเกี่ยวกับการบริหารโครงการแล้ว กรอบความคิด (Mindset) ที่ดี เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญที่ผู้บริหารโครงการควรได้รับการพัฒนา เนื่องจากหลายๆครั้งที่ต้องเผชิญกับปัญหา อุปสรรค หรือเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง แต่ผู้บริหารโครงการกลับไม่สามารถจัดการหรือรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้นแล้วดำเนินการให้คลี่คลายเนื่องจากกรอบความคิดของตัวเขาเองเช่น
“ ปัจจัยต่างๆไม่แน่นอน คงวางแผนล่วงหน้าได้ยาก”
“ เราไม่ได้เป็นคนสร้างปัญหา แล้วทำไมเราต้องแก้ด้วยล่ะ”
“ ปัญหาเกิดขึ้นทุกวันและเป็นปัญหาเดิมๆ เราคงต้องปล่อยวางบ้าง"
พฤติกรรมหรือคำพูดที่พนักงานแต่ละคนแสดงออกมาเกิดจากกรอบความคิด (Mindset) ที่เขามีต่อเรื่องนั้นๆ ซึ่งกรอบความคิดมาจาก ความเชื่อ ค่านิยม ประสบการณ์ ที่สะสมมาจากอดีตของแต่ละบุคคล ดังนั้น การพัฒนาผู้รับผิดชอบงานโครงการโดยให้ความรู้ หรือเทคนิคต่างๆ อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างยั่งยืนถ้าพนักงานยังคงใช้กรอบความคิดแบบเดิม การสร้างกรอบความคิดที่ดีโดยสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ (โครงการ) Ownership Mindset จึงมีความสำคัญเช่นกัน

วัตถุประสงค์
พัฒนาทักษะต่างๆที่สำคัญที่ใช้ในการบริหารงาน รวมทั้งสามารถถ่ายทอดทักษะดังกล่าวให้กับทีมงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
เพื่อให้ผู้เรียนได้แนวทาง,หลักการและความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ รวมทั้งเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับผู้ที่กำลังจะก้าวขึ้นสู่ระดับสูงในอนาคต
เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นและเข้าใจสภาพปัญหาหรืออุปสรรคที่กำลังเผชิญอยู่ในโครงการ และปรับมุมมองใหม่ต่ออุปสรรคดังกล่าวเพื่อให้พร้อมรับมือได้ดียิ่งขึ้น
เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนากรอบความคิดของการเป็นเจ้าของ (โครงการ) หรือ Ownership Mindset เพื่อเพิ่มความรับผิดชอบและความมุ่งมั่นในการทำโครงการมากขึ้น

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
PART 1 : เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารโครงการ
       สำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารโครงการ
       วงจรของการบริหารโครงการ (Project Life Cycle)
       องค์ประกอบและภาพรวมของการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ
       บทบาทต่างๆที่สำคัญของผู้บริหารโครงการ
       อุปสรรคที่ทำให้การบริหารโครงการไม่ประสบความสำเร็จ
       หลักการที่สำคัญของการบริหารโครงการให้บรรลุเป้าหมาย
       Workshop : สร้างแนวคิดในการบริหารโครงการของท่าน
PART 2 : ทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับองค์ประกอบของโครงการก่อสร้าง
       ภาพรวมของการบริหารโครงการ
       Method Statement ของโครงการสำคัญอย่างไรและควรใช้หลักการใดบ้างในการกำหนด
       ทำความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรของงานก่อสร้าง (4M)
       M : MAN  การจัดเตรียมบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแผนงานโครงการ
       M : MATERIAL กระบวนการบริหารจัดการวัสดุต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
       M : MACHINE ใช้เครื่องจักรอย่างไรให้ได้งานตามแผนและอยู่ในต้นทุนที่วางไว้
       M : MONEY หลักการจัดทำงบประมาณและบริหารจัดการให้โครงการดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง
       เทคนิคการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
       Workshop: การบริหารทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพ
PART 3 : กระบวนการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
       กระบวนการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพิชิตเป้าหมาย
       การกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของโครงการและสามารถวัดผลลัพธ์ได้ (Strategic Goal)
       การวิเคราะห์ Critical Path Method (CPM) เพื่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพ
       แผนงานบริหารโครงการที่มีคุณภาพ
       การจัดลำดับความสำคัญและบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ (Stakeholder Management) เพื่อลดต้นทุน ลดเวลาและสนับสนุนงานร่วมกันได้
       หลักการบริหารเวลาเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการทำงาน
       เคล็ดลับสำหรับการประชุมที่มีประสิทธิภาพ
       การประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management – Risk Identification Techniques)
       กรณีศึกษา : การวางแผนจัดการทรัพยากรในโครงการ
PART 4 : ทำอย่างไรให้โครงการบรรลุผลตามเป้าหมายด้านเวลา คุณภาพและงบประมาณ
       กับดักที่ผู้บริหารโครงการมักเผชิญอยู่เสมอในโครงการ
       เครื่องมือสำหรับตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการเพื่อประเมินความเบี่ยงเบน (Variance) ที่เกิดขึ้น
       สร้างกระบวนการปรับปรุงและแก้ไขด้วยแผนงานเชิงกลยุทธ์
       Workshop: สร้างรูปแบบและกระบวนการบริหารโครงการในสไตล์ของตัวเอง

แนวทางการฝึกอบรม
การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ในทันที ด้วยแนวทางของตัวเอง 
การฝึกอบรมมีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ คิดถึงสถานการณ์ การทำงานของตัวเอง
       การบรรยาย : เน้นเนื้อหาที่ใกล้ตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ 
       Work Shop : กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
       การนำเสนอ : เกิดการฝึกฝนการแสดงออกและทำงานเป็นทีม
       Role Playing : ทำให้เห็นสถานการณ์จริง โดยการแสดงแบบสมมติ 
       การตอบคำถาม : จูงใจให้ผู้ฝึกอบรมได้คิด และแสดงความคิดเห็น 
       การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง 
วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้นๆ โดยการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยตัวเอง


ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
วิศวกรระดับต้นและกลาง
บุคลากรที่ต้องรับผิดชอบงานโครงการ
ผู้ควบคุมงาน

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม